การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ ในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม บทเรียนแบบบูรณาการกับการเรียนปกติ เรื่องการสร้างเว็บเพจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ A Comparison of Learning Achie

Authors

  • วิจิตรา ผาผึ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ยังขาดสื่อที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องนำเอาสื่อที่มีประสิทธิภาพและการนำเสนอที่น่าสนใจด้วยมัลติมีเดียเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการ ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ 1 เรื่องการสร้างเว็บเพจ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการ 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการกับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการนครพนม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (ClusterRandom Sampling) จากนักศึกษา 4 ห้องเรียน จำนวน 120 คน ได้มา 2 ห้องจำนวน 60 คน แล้วใช้วิธีจับฉลากได้ห้อง ปวช. 2/1 เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30คน เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการ และห้องปวช. 2/1 เป็นห้องควบคุมเรียนแบบปกติ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการ เรื่องการสร้างเว็บเพจ จำนวน 6 หน่วยการเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างเว็บเพจ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน30 ข้อที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 1 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.83 และมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.71 ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ0.87 (3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน เรื่องการสร้างเว็บเพจ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 1 ฉบับซึ่งค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.78 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.31ถึง 0.87 ความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.87 (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ตอนๆ ละ10 ข้อ ตอนที่ 1 วัดความสามารถในการสร้างมโนทัศน์ใหม่ ตอนที่ 2 วัคความสามารถในการสร้างเว็บเพจในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.21ถึง 0.93 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 (3) แบบประประเมินภาคปฏิบัติการสร้างเว็บเพจของผู้เรียน เรื่องการสร้างเว็บเพจ เป็นการประเมินแบบ (Rubric Assessment) แบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ ดี ผ่าน ต้องปรับปรุง จำนวน 15 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจสอบหาค่าความสอดคล้อง และความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยพิจารณาคัดเลือกข้อสอบที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 0 .67 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-test (DependentSample) และ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โปรแกรมบทเรียนแบบบูรณาการที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่องการสร้างเว็บเพจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.83/81.43 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. นักศึกษาที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักศึกษาที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่านักศึกษาที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


Downloads

How to Cite

ผาผึ้ง ว. (2014). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ ในการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม บทเรียนแบบบูรณาการกับการเรียนปกติ เรื่องการสร้างเว็บเพจ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ A Comparison of Learning Achie. Chophayom Journal, 24, 43–60. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/15807

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์