Employee Engagement from the Perspective of Generation Y Educators

Authors

  • ณพัชญ์ปภา สว่างนุวัตรกุล Chandrakasem Rajabhat University

Keywords:

ความผูกพันต่อองค์การ, กลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีต่อการสร้างความผูกพันในองค์การ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ที่มีต่อผู้บริหารในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายสายวิชาการ จำนวน 10 คน และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 10 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง และได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ (Content Analysis) พร้อมสอบทานความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความเข้าใจในเรื่องการสร้างความผูกพันเป็นอย่างดี กล่าวคือการที่คนในองค์การมีความรัก มีความสัมพันธ์กับคนในองค์การอย่างเหนียวแน่น พร้อมที่จะทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ต่อองค์การ 2) ด้านองค์ประกอบที่มีความสำคัญในการที่จะสร้างความผูกพันในองค์การ คือ การได้รับผิดชอบงานที่มีความท้าทายมากขึ้น การมีความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความยืดหยุ่น การมีระบบค่าตอบแทนที่มีความจูงใจและมีความเป็นธรรม การมีโอกาสก้าวหน้าในการทำงานสามารถเติบโตในสายอาชีพได้ 3) มีข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการสร้างความผูกพันในองค์การ 3 ประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่ง การบริหารจัดการในหน่วยงานที่ควรมีแนวทางการทำงานที่มีความชัดเจนมากขึ้น มีการแบ่งงานตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ชัดเจนตามลักษณะการทำงาน ประเด็นที่สอง ควรเน้นการสื่อสารนโยบายในการทำงานให้มีความชัดเจน เน้นการสื่อสารแบบสองทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ที่ตรงกัน ประเด็นที่สาม การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การจ้างงานหรือระบบการต่อสัญญาให้มีความชัดเจน มีความยืดหยุ่น และเป็นธรรมมากขึ้น คำสำคัญ : ความผูกพันต่อองค์การ, กลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย

References

จิระประภา อัครบวร, รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์, จารุวรรณ ยอดระฆัง และขวัญ นวลสกุล. (2557). Employee engagement on meter. กรุงเทพฯ: บริษัท แฮฟ ไอเดีย จำกัด.
เดชา เดชะวัฒนะไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์ และ ชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณ ลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 1-17.
ธัญกิตต์ จันทรัศมี. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย: กรณีศึกษาพนักงานภายใต้ธุรกิจค้าผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศ บริษัท ซี พี เอฟ เทรดดิ้ง จำกัด. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเนชั่น.
นริศรา สุระวิญญู. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้จัดการตรวจสอบบัญชี Gen Y ในสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
สุพชร ไตรวิจิตรศิลป์.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันกับองค์การ กรณีศึกษาพนักงานเจเนอเรชั่นวายในองค์กรเอกชนเขตสาทร และอโศก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด)
สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2550). Gen Y จับให้มั่นคั้นให้เวิร์ค. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ บิซบุ๊ค.
ศุทธกานต์ มิตรกูล และ อนันต์ชัย คงจันทร์. (2559). เจเนอเรชันวายในองค์กร: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมกับความผูกพันต่อองค์กร. วารสารวิทยาการจัดการ, 33(1), 31-75.
ศุภลักษ์ แลปรุรัตน์. (2557). ความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจลาออก: การศึกษาในพนักงานเจนเนอเรชั่นวายของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 863-877.
Alsop, R. (2008). The Trophy Kids Grown Up: How the Millennial Generation Is Shaking Up the Workplace. San Francisco: Jossey-Bass.
Attapreechakul, D. (2009). A survey middle-level administrators' leadership styles driving government officials' engagement at the Office of the Permanent Secretary of the Interior (OPSI). Research paper, Thammasat University.
Bridger, E. (2015). Employee engagement. USA: Kogan page limited.
Crow, M., & Stichnote, L. (2010). The new centurions. IEEE Power and Energy Magazine, 8(4),20-26.
Dickson, D.A., (2011). Fostering employee engagement. MA: HRD press.
Donald R. Hillman. (2001). The 3 Rs of Managing Millennial Employees – Recruit, Relate, Retain สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 จาก https://hrprofessionalsmagazine.com/the-3-rs-of-managing-millennials-recruit-relate-retain/
Erickson, T. (2008). Plugged In: The Generation Y Guide to Thriving at Work. Boston, Massachusetts: Harvard Business Press.
Hewitt Associate. (2004). Employee Engagement สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 จาก https://was4.hewitt.com
Lockwood, R.N. (2007). Leveraging employee engagement for competitive advantage: HR strategic role. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561, จาก https://pdfs.semanticscholar.org/ acc4/4ab3d4cb3c648cb2993fe705129984440ffe.pdf
Noble, S.M., & Schewe, C. D. (2003). Cohort segmentation: An exploration of its validity. Journal of Business Research, 56(12), 979–987.
Rossman, G.B. and Sharon, R. (2011). Learning in the field: An introduction to qualitative research. Los Angeles: SAGE.
Vance, R.J. (2006). Employee engagement and commitment. USA: SHRM foundation.
Vasu, M.L., & Stewart, D.W. and Garson, G.D. (1990). Individual and Organization: Modeling Commitment in Public Organization. Unpublished Doctoral Dissertation, The Florida State University.

Downloads

Published

2019-10-29

How to Cite

สว่างนุวัตรกุล ณ. (2019). Employee Engagement from the Perspective of Generation Y Educators. Chophayom Journal, 30(2), 109–118. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/183760

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์