การสร้างความหมายเชิงสัญญะในบทภาพยนตร์เรื่อง แหยม ยโสธร (Creating Semiotic Meanings in Screenplay of Yam Yasothon)

Authors

  • รัตนาภรณ์ สวยกลาง
  • จารุวรรณ ธรรมวัตร
  • ราชันย์ นิลวรรณาภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. ศึกษารูปสัญญะและความหมายสัญญะในบทภาพยนตร์ตลกเรื่องแหยมยโสธร2.ศึกษาภาพเสนอต่อสังคมที่ปรากฏในบทภาพยนตร์ตลกเรื่องแหยมยโสธร ทั้งนี้เพื่อเข้าใจความหมายที่ถูกสร้างขึ้นมาสื่อสารให้เกิดอารมณ์ขันในบทภาพยนตร์ตลกด้วยผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการใช้รูปสัญญะที่ถูกประกอบสร้างขึ้นจากวัจนภาษาและอวัจนภาษามีลักษณะสัมพันธ์กัน ทำให้เข้าใจการสร้างความหมายเชิงสัญญะที่ถูกประกอบสร้างขึ้นในบทภาพยนตร์ตลกเรื่องแหยมยโสธรที่มีลักษณะโดดเด่นคือ การใช้ภาษาท้องถิ่น การสะท้อนสังคมและวิถีชีวิตของท้องถิ่นอีสาน การใช้มุขตลกหยาบโลนและความทะลึ่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ปรับเปลี่ยนการเล่าเรื่องโดยใช้ลักษณะเด่นของความเป็นตลกอีสาน สร้างความหมายสัญญะเพื่อสื่ออารมณ์ขัน เช่น การสร้างตัวละครเป็นคนอีสาน ความเป็นอีสานบ้านนอกถูกมองเป็นเรื่องตลก น่าหัวเราะ  และความเป็นตลกยังสามารถล้อเลียนได้กับทุกสิ่งเพราะถือว่าเป็นเรื่องล้อเล่น  ทุกอย่างที่ถูกประกอบสร้างในบทภาพยนตร์ตลกจึงถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่อสื่ออารมณ์ขันให้ชัดเจนและเข้าใจความหมายที่สื่อออกไปได้อย่างถูกต้อง

คำสำคัญ ความหมายเชิงสัญญะ ,บทภาพยนตร์ตลก ,ท้องถิ่น


Abstract

The current study aimed to investigate 1) the meaning creation appearing in screenplays of a movie called “Hello Yasothon” and 2) social illustration featuring in the movie script in order to study meaning created for sense of humors in the movie. The result of the study found that both semiotics in verbal and non-verbal languages were related. The semiotic features appearing in the screen play were the use of dialect, the reflection of north earthen. 
Thailand life style, and the use of off-color humor. These semiotic features were always found in north eastern local movie screenplays. Moreover, localism was applied into the movie in order to create sense of humor. In the other words, the north eastern Thailand localism would be automatically considered as a sign of humor. Therefore, scenes, costumes, and acting were designed to support the sense of humor created by using localism as a main theme of the screen play.

Keyword: Simiotice   Screenplay  Localism

Downloads

How to Cite

สวยกลาง ร., ธรรมวัตร จ., & นิลวรรณาภา ร. (2014). การสร้างความหมายเชิงสัญญะในบทภาพยนตร์เรื่อง แหยม ยโสธร (Creating Semiotic Meanings in Screenplay of Yam Yasothon). Chophayom Journal, 25(1), 35–42. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/19506

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์