การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน (Bhuddism Agriculture for Solving the Community Economy Problems)

Authors

  • พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ / กองสินธุ์)
  • พระมหาบาง เขมานนฺโท
  • พระครู สุธีคัมภีรญาณ
  • ประยูร แสงใส

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ประการแรกเพื่อศึกษาแนวคิดเกษตรแนวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ประการที่สองเพื่อศึกษาพัฒนาการของการเกษตรแนวพุทธในสังคมไทย และประการที่สามเพื่อศึกษาวิเคราะห์การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน วิธีวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิดเกษตรแนวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แนวคิดเกษตรแนวพุทธในสังคมไทย  แนวคิดการเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน  ระยะที่ ๒ ตรวจสอบประเมินผลสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล จัดเวทีวิพากษ์ โดยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งทางฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส วิเคราะห์ประเมินผลการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนกลุ่มเป้าหมายได้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเกษตรที่ใช้หลักธรรมมาประยุกต์ใช้ใน การดำเนินการเกษตร การได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพรรณนาและบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า

1. การเกษตรแนวพุทธในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความสุขให้แก่มนุษย์เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจตามหลักเศรษฐศาสตร์ แต่จุดหมายทางพระพุทธศาสนาจะแตกต่างจากจุดหมายของเศรษฐกิจ  เพราะเศรษฐกิจมีจุดหมายเพื่อบำบัดหรือสนองความต้องการของมนุษย์ให้เกิดความสุขมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ทั้งปวง  มีความต้องการให้มนุษย์มีการเป็นอยู่ที่ดี  มีอาหารที่ดี  เพราะจะทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนาสอนเน้นให้มีหลักบำบัดรู้จักบรรเทาความทะยานอยากให้น้อยลงไป พยายามเป็นนายเหนือทรัพย์เพื่อลดความโลภต่าง ๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายในทางพระพุทธศาสนา

2. การเกษตรแนวพุทธในสังคมไทย  หลักคำสอนที่สอดคล้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ที่เป็นจริงของสังคม เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรในแนวพุทธ ส่วนหนึ่งคือปัญหาความล้มเหลวของภาคเกษตร  และปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม  รูปแบบการเกษตรแนวพุทธจำแนกได้เป็น  5  รูปแบบ  คือ (1) รูปแบบนา (2) รูปแบบนาและป่า (3) รูปแบบนาไร่และวัวควาย (4) รูปแบบนาไร่วัวควายเน้นสวนผัก  และ (5) รูปแบบนาไร่เน้นวัวควาย  โดยหลักการพื้นฐานของธรรมชาติในเรื่องความแปรปรวนของปัจจัยต่าง ๆ ในการผลิต

3. การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน

การเกษตรตามแนวพระพุทธศาสนา เกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการเกษตรไปสู่การเกษตรแนวพุทธ สามารถในการพึ่งตนเอง  มีการผลิตแบบใช้เอง  บริโภคเอง  มีความสมดุลในธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม  มีการผสานนวัตกรรมร่วมกับเกษตรแนวพุทธโดยได้นำบทสวดมนต์บทต่าง ๆ ก่อให้เกิดดุลยภาพความยั่งยืนด้านคุณภาพชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ทั้งกายภาพ ชีวภาพและจิตวิญญาณ เป็นวิธีการปฏิบัติที่เรียบง่าย เป็นแบบอย่างบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกัน โดยประสานการทำงานให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ตลอดจนเป็นการพัฒนาคนพร้อม ๆ ไปกับพัฒนาเศรษฐกิจ

คำสำคัญ การเกษตรแนวพุทธ, ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน

ABSTRACT

The purposes of the current study were 1) to investigate Buddhism agriculture in doctrine’s scriptures, 2) to study development of Buddhism agriculture in Thai society, and 3) to analyze Buddhism agriculture for solving communities’ economic problems. The methodology of the study was separated into 2 phases such as investigation of Buddhism agriculture for solving community’s economic problems and assessment of data from target group. The data were collected from a debate of relative informants including academics and experts, both from religion and community unit. The target group was agriculturists involving in sufficient economic campaign and agriculturists applying Dharma in the agricultural process. The target group was selected by the method of purposive sampling, and the data were analyzed by descriptive analysis method.

The results of the study showed that

1) Buddhism based-agriculture purposed to provide happiness to people in the same way as economics. However, there was an important difference between them. Economics aimed to fulfill needs of human in terms of wealth and comfort while Buddhism principals emphasized on reduction of desire and being free from greed.

2) The investigation on Buddhism based-agriculture in Thai society showed that Buddhism based-agriculture reflected the ways of life of the people in society. The investigation pointed out that patterns of Buddhism based-agriculture could be divided into 5 main categories including 1) farming, 2) farming and foresting, 3) farming and cattle, 4) cattle and vegetable farming, and 5) farming emphasizing cattle.

3) The development of Buddhism based-agriculture in society could be promoted by supporting of capability of self-dependence, self-manufacture, balance of nature and environment, integration of innovation and path of the Buddhism. Prayers could be used as a tool to contribute both physical and moral sustainability in terms of life quality, society, and culture. The method was a simple way to bring prosperity to all units and developed people along with economic development.

Keyword :  Buddhist agriculture, problems of the  economy of community.

Downloads

How to Cite

(สายพงศ์ อโนมปญฺโญ / กองสินธุ์) พ., เขมานนฺโท พ., สุธีคัมภีรญาณ พ., & แสงใส ป. (2014). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน (Bhuddism Agriculture for Solving the Community Economy Problems). Chophayom Journal, 25(1), 53–64. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/19656

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์