บทวิจารณ์หนังสือ “เลี้ยงลูกให้เป็นดอกเตอร์”
Keywords:
เลี้ยงลูกให้เป็นดอกเตอร์Abstract
ดร.นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล หรือ ดร.นงนภัส เที่ยงกมล ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “เลี้ยงลูกให้เป็นดอกเตอร์” ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ปัญญาชน ในปีพ.ศ. 2554 นั้นมีบุตรชาย 2 ท่านที่เป็นดอกเตอร์ คือ ดร.ธนรรรตต์ คู่วรัญญู เที่ยงกมล และดร.ชาติชัย (ฉัตรชัย นามเดิม) เที่ยงกมล ผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึงความรู้สึกลึกๆ ที่เชื่อว่า “ใครๆ ก็ทำได้ แต่สิ่งที่ปรารถนามากกว่าคือการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว และสังคม ประการสำคัญที่สุดสามารถดูแลตนเอง และครอบครัวได้ ไม่เบียดเบียนสังคม และหากช่วยคนอื่นไม่ได้ก็อย่า
ทำร้ายคนอื่น” ถ้าพิจารณาต่อมาท่านยังอยากให้คนในสังคมมีจิตสาธารณะ มีความปรารถนาให้คนอื่นได้ดีเสียก่อนที่จะนึกถึงตนเอง จึงเป็นมุมมองหรือจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์ที่ต้องการจะสื่อในเนื้อหาสาระในหนังสือในบทที่ 1 หลังอนุบาลสายเกินไปหรือเปล่าด้วยสาระที่ว่าเลี้ยงลูกให้รักบ้าน เลี้ยงลูกให้รักการอ่าน โรงเรียนดีใกล้บ้าน เตรียมอาหารบำรุงสมอง เตรียมธรรมะเป็นอาหารใจ สร้างความฉลาดทางอารมณ์ กตัญญูแต่เพียงอย่างเดียวไม่พอต้องกตเวทิตาด้วย ประชาธิปไตยต้องเริ่มต้นที่บ้าน เศรษฐกิจเป็นเรื่องของใคร (ในที่นี้หมายถึงการที่ทุกคนต้อง
ร่วมกันรับรู้ถึงสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว) ความมีนํ้าใจต้องปลูกฝัง กีฬาเป็นยาวิเศษ ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ฟังดนตรีคลาสสิคก่อนนอนเสริมสมาธิ การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ท่องเที่ยวในโลกกว้างเสริมทักษะชีวิตและวิสัยทัศน์ และสุดท้ายไม่กดดันให้ลูกเป็นคนเก่ง ซึ่งมีการเดินเรื่องโดยใช้การพูดคุยกับหลานสาวที่มีชื่อเล่นว่า“หนูไอนส์” จากหัวข้อและเนื้อหาในแต่ละประเด็นเป็นการตอกยํ้าความเชื่อ ตามแนวคิด และหลักฐานที่ผู้ประพันธ์นำมาเพื่อพิสูจน์ในประเด็นที่กล่าวนำได้อย่างน่าเชื่อถือ และเป็นการสนับสนุนแนวคิดของผู้ประพันธ์ได้อย่างดียิ่ง