การสร้างอัตลักษณ์บัลเล่ต์: กรณีศึกษาการเรียนการสอนบัลเล่ต์นอกเวลาเรียนของนิสิตวิชาเอก นาฏยศิลป์ตะวันตก ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Creating a ballet identity: a case study of overtime ballet learning

Authors

  • พีระ พันลูกท้าว

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์บัลเล่ต์ของนิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกปีชั้นที่ 1-4 ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนบัลเล่ต์นอกเวลาเรียนของนิสิตวิชาเอก นาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 1-4 ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้การเรียนการสอนบัลเล่ต์นอกเวลาเรียนกลุ่มประชากรคือนิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน ประกอบไปด้วยนิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 1 จำนวน 4 คน นิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 2 จำนวน 10 คน นิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน และนิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกชั้นปีที่ 4 จำนวน 7 คน สถานที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลห้อง FA 408 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามระหว่างเวลา 19.00 น.- 21.30 น. วันจันทร์-วันศุกร์ ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เรียนและแบบสอบถามการใช้วิธีการสอนบัลเล่ต์รูปแบบอิสระของผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์บัลเล่ต์ของนิสิตสาขาวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตก ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 8 ด้าน คือ 1.) ปัจจัยด้านการเรียนการสอน, 2.) ปัจจัยด้านสถานที่เรียน, 3.) ปัจจัยทางด้านนโยบายการรับนิสิตเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4.) ปัจจัยทางด้านหลักสูตรบัลเล่ต์, 5.) ปัจจัยด้านการถ่ายทอดความรู้อันนำมาซึ่งการซึมซับอัตลักษณ์ความเป็นบัลเล่ต์ของนิสิตวิชาเอกนาฏยศิลป์ตะวันตกที่เกิดจากผู้สอนและนิสิต, 6.) ปัจจัยของรูปแบบการสอนบัลเล่ต์ลักษณะอิสระ, 7.) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และ 8.) ปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนบัลเล่ต์นอกเวลาเรียน

คำสำคัญ : การสร้างอัตลักษณ์บัลเล่ต์, ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจ, วิธีการสอนบัลเล่ต์รูปแบบอิสระ

Abstract

The purposes of this research study 1.) to investigate factors influencing the creation of ballet identity by the students from the freshman to senior years, majoring in Western Dance at the Department of Performing Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University, and 2.) to study the students’ achievements and their satisfactions towards overtime ballet teaching at the Department of Performing Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University. The samples comprised 25 Western Dance major students (years 1-4) who were studying in academic year 2013 including: 4 first-year Western Dance students, 10 second-year Western Dance students, 4 third-year Western Dance students, and 7 fourth-year Western Dance students. The studied site was Room FA-408 in the Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University. Data were collected from Monday to Friday between 07:00-09.30 p.m. in academic year 2013. The research instruments included a student satisfaction form and a questionnaire about the free class method for ballet teaching. Data were analyzed through descriptive analysis.

The findings showed that the ballet identity created by the Western Dance major students at the Department of Performing Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University was influenced by eight factors as the following : 1.) Teaching and learning methods,  2.) The learning location, 3.) The admission policy of Mahasarakham University, 4.) The particular ballet program, 5.) Transfer of knowledge from the teacher which contributes to ballet identity absorption of the students, 6.) Free class method for bullet teaching, 7.) Class participation and

8.) Student’s achievement and satisfaction towards overtime bullet teaching

Keywords : Creation of Ballet Identity, Achievement and Satisfaction, Free Class Method for Ballet Teaching

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

พันลูกท้าว พ. (2016). การสร้างอัตลักษณ์บัลเล่ต์: กรณีศึกษาการเรียนการสอนบัลเล่ต์นอกเวลาเรียนของนิสิตวิชาเอก นาฏยศิลป์ตะวันตก ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Creating a ballet identity: a case study of overtime ballet learning. Chophayom Journal, 26(2), 15–25. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/52290

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์