ปรากฏการณ์ทางสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้น ในนิตยสารรายสัปดาห์ปีพุทธศักราช 2555 Social Phenomena and Short Stories Presentation Strategies in Weekly Magazines in the year 2012

Authors

  • สันติ ทิพนา
  • ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
  • สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร

Abstract

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมมี  6  ด้าน  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้  1)  ด้านศาสนา  ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี 2)  ปรากฏการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ 3) ปรากฏการณ์ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    4)  ปรากฏการณ์ด้านการศึกษา  5)  ปรากฏการณ์ด้านการเมืองการปกครอง  6)  ปรากฏการณ์ด้านอื่นๆ ตามลำดับ

            ด้านกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นผลการวิจัยพบว่า  1)  กลวิธีการดำเนินเรื่องตามแบบปฏิทินมากที่สุด  เพื่อผู้อ่านจะได้รับรู้เรื่องราวของตัวละครตั้งแต่เล็กจนโต 2)  กลวิธีการดำเนินเรื่องแบบเล่าย้อนหลัง  เล่าเรื่อง ราวเหตุการณ์ที่เกิดท้ายเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยก่อนแล้วจึงเล่าเรื่องทั้งหมดจนจบเรื่อง  3)  กลวิธีการดำเนินเรื่องแบบเล่าย้อนไปย้อนมา  เป็นการดำเนินเรื่องจากตอนใดตอนหนึ่งก็ได้  นักเขียนจึงไม่นิยมเท่าที่ควรจึงเป็นทางเลือกในลำดับสุดท้ายตามลำดับ

            ด้านกลวิธีการเล่าเรื่องหรือมุมของการเล่าเรื่อง  (Point of Viewผลการวิจัยพบว่า  1)  กลวิธีการเล่าเรื่องโดยใช้สรรพนามบุรุษที่  3  มากที่สุด  2)  กลวิธีการเล่าเรื่องโดยใช้สรรพนามบุรุษที่  1  3)  กลวิธีการเล่าเรื่องโดยผู้แต่งใช้หลายแบบผสมผสานกัน4)  ผู้แต่งในฐานะเป็นผู้กำกับเป็นผู้มองภายนอก  ตามลำดับ

            ด้านกลวิธีการใช้น้ำเสียงในเรื่องสั้นผลการวิจัยพบว่า  1)  กลวิธีการใช้น้ำเสียงประชดประชัน  เสียดสี  เยาะหยัน  มากที่สุด  2)  การใช้น้ำเสียงโศกเศร้า  สลดหดหู่  ว้าเหว่  3)  การใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ขัน  ล้อ เลียน  4)  การใช้น้ำเสียงโกรธเกี้ยวแสดงอารมณ์ร้อนแรง  5)  การใช้น้ำเสียงน้ำเสียงปลุกเร้า  ตามลำดับ

            คำสำคัญ:  ปรากฏการณ์ทางสังคม, กลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้น

ABSTRACT

            This research aimed to study the social phenomena and the short stories presentation strategies in Thailand 2012 weekly magazines. The results were 6 social phenomena factors, ranged from the highest to the lowest mean scores as follows: 1)  Religion, belief, culture and tradition, 2) economy, 3) nature and environment, 4)  education, 5)  politics and governance, and6)  others phenomena.

            The short stories presentation strategies, ranged from the highest to the lowest mean score, found that: 1) The Chronological order strategy, leading the readers knew the

characters’ stories from their childhoods to adults, 2) The flashback, confusing the readers

with the last episode firstly and tell the readers whole stories in the end, 3) backward, presenting some episode of the stories.it was not popular and it was the last choice of the authors for the short stories presentation, respectively.

            According to the point of view, ranged for the highest to the lowest mean score, found that:1) the third person pronoun,2) the first person,3) mix method, and 4) author as the director was the audiences, respectively.

            Considering the 2012 weekly magazine Toning presentation, ranged from the highest to the lowest mean score, found that:1) irony, parody, and ridicule,2) sad emotion, lonesomeness, 3) humor andteasing,4) anger, and5) impassion, respectively.

            Keywords:  social phenomena, shot stories presentation strategies

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

ทิพนา ส., เมฆเมืองทอง ช., & วงศ์กระบากถาวร ส. (2016). ปรากฏการณ์ทางสังคมและกลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้น ในนิตยสารรายสัปดาห์ปีพุทธศักราช 2555 Social Phenomena and Short Stories Presentation Strategies in Weekly Magazines in the year 2012. Chophayom Journal, 26(2), 37–48. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/52299

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์