การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์จากการเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน กับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความเข้าใจธรรมชาติวิทย

Authors

  • นิตยา ทิพศรีราช
  • ปัทมาวดี ปาสาจะ
  • ภูวดล โกมณเทียร

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์  โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ต่างกัน จำนวน 77 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 38 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 39 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์   3 ประเด็น ได้แก่ การโคลนนิ่ง  การอุ้มบุญ และพืชดัดแปลงพันธุกรรม สำหรับการเรียนแบบผสมผสานวิธีปัญหาเป็นฐานกับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น อย่างละ

3 แผน ใช้เวลาเรียนแผนละ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการโต้แย้ง แบ่งเป็น 4 ชุดๆละ 4 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มี 3 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two-way MANCOVA และ ANCOVA)

          ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์ หลังเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น มีการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งเพิ่มขึ้นจากการสอบครั้งที่ 1-4 และมีการคิดวิเคราะห์โดยรวมและเป็นรายด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน (p < .05) นักเรียนที่มีความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ต่างกันมีความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์โดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน (p > .05) ส่วนนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน มีเฉพาะความสามารถการคิดวิเคราะห์ด้านหลักการ มากกว่านักเรียนที่เรียนวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (p < .025) นอกจากนี้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติวิทยาศาสตร์และรูปแบบการเรียนต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน (p ≥ .377)

คำสำคัญ : ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์,  การโต้แย้ง,  การคิดวิพากษ์วิจารณ์,  การเรียนแบบผสมผสาน

 

ABSTRACT

           This research aimed to compare effects of learning socioscientific issues using the mixed methods based on the problem-based learning method and the 5E-learning cycle approach on argumentation and analytical thinking abilities of 77 Mattayomsuksa 5 students with different understandings  of the nature  of science. They were selected from 2 classes, using the cluster random sampling technique, and were divided into 2 groups: the first group of 38 students learned using the mixed methods based on the problem-based learning method and the second group of 39 students learned using the mixed methods based on the 5E-learning  cycle approach. Instruments for the research included: 1) learning plans on 3 socioscientific issues: Cloning, Surrogacy and Genetically Modified Plants for the problem-based learning  method and the 5E-learning cycle approach, 3 plans each and each plan for 3 hours of learning in a week; 2) four argumentation tests, 4 items each; and 3) an analytical thinking test with 30 items and 3 subscales, :analysis of elements, analysis of relationships, and analysis of organizational principles. The collected data were analyzed for testing hypotheses by means of the Paired t-test and the F-test (Two-way MANCOVA and ANCOVA).

          The research findings found that the student as a whole and as classified according to achievement motivation who learned the socioscientific issues using the mixed methods based on the problem-based learning  method and the 5E-learning  cycle approach showed developments of argumentation from the 1st -4 th test :and showed analytical thinking abilities in general and in each subscale from before learning (p < .001). The students with different  understandings     of the nature  of science did not differently indicate argumentation and analytical thinking abilities in general and in each subscale after learning socioscientific issues (p > .05). The students who learned the socioscientific issues using the mixed methods based on the problem-based learning  method evidenced more only analytical thinking abilities in the subscale of  analysis of organizational principles than the counterpart students (p < .025). In addition, there were no statistical interactions of understanding  of the nature  of science with learning method on argumentation and analytical thinking abilities of the students (p ≥ .377).

Keywords : SocioscientificIssues Using, Argumentation, Critical Thinking, Mixed Methods

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

ทิพศรีราช น., ปาสาจะ ป., & โกมณเทียร ภ. (2016). การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์จากการเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน กับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความเข้าใจธรรมชาติวิทย. Chophayom Journal, 26(2), 109–123. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/52314

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์