รูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทคอินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ A Developing Model of International Technology Nong Khai Group Collage Limited to be Learning Organization

Authors

  • ทัศณีย์ แสณจันทร์
  • ชาตรี ศิริสวัสดิ์
  • ภิญโญ ทองเหลา

Abstract

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทคอินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด  2)  เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทค อินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ  3)  เพื่อหาประสิทธิผลการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทค อินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ Multiple Linear Regression  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทคอินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด โดยการให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ร่วมกันวิพากษ์ให้ข้อเสนอแนะและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนา  ระยะที่สาม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลองการใช้รูปแบบการพัฒนาเป็นระยะเวลา 2 ปี สถิติที่ใช้ คือ t-test (Dependent)

                 ผลการวิจัย พบว่า

                  การวิจัยระยะที่ 1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรพยากรณ์ พบว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับอำนาจการพยากรณ์จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ   ปัจจัยด้านเป้าหมายและข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติงาน   และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากร    โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .326,  .270 และ .231 ตามลำดับ ส่วนตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (b) เท่ากับ .124,  .108  และ .095 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .739  มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .546  และมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 54.6  มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน  (SEest) เท่ากับ .372 และมีค่าคงที่ของสมการในรูปคะแนนดิบ (a)  เท่ากับ  .611

           การวิจัยระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทค อินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัดให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  โดยการจัดทำกิจกรรมและโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ เป้าหมายและข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติงาน เป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญ

           การวิจัยระยะที่ 3  ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทค อินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือทดสอบก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่า  ด้านลักษณะที่เป็นกระบวนการและด้านลักษณะที่เป็นผลผลิต  หลังการพัฒนาดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การพัฒนาวิทยาลัย, องค์การแห่งการเรียนรู้

 

Abstract

              The objective of this thesis were to : 1) study the factors affecting the organization of learning in International Technology Nongkhai Group Collage Limited   2) to develop a model for development in  International Technology Nongkhai Group Collage Limited, is a learning organization  and 3)  to find effective development in International Technology Nongkhai Group Collage Limited, is a learning organization .  The research is divided into three phases: Phase 1 study of factors affecting the organization of the learning population, including administrators, teachers - teacher, 98 were used  in this study was a questionnaire scales with level 5 stats. used in this study consisted Multiple Linear Regression, percentage, mean and standard deviation. Phase 2 creates a model developed    in International Technology Nongkhai Group Collage Limited by the scholars. luminaries And involved a total of 30 people sharing critical feedback and improve the development model for a third term as experimental research. Tested before and after the experiment using a model developed for a period of 2 years using the statistical t-test (Dependent).

          Phase 1 study of factors affecting the organization of learning. The stepwise multiple regression analysis of predictors found that factors predictive factors that influence the effectiveness of an organization's learning college  are statistically significant with 3 variables Sort the predictive power of many. the descending. Environmental and cultural factors  factors, goals and feedback on performance  and the human resource development  with the coefficients of the predictors of raw score (b) equal to .326 , .270 and .231 , respectively, is predicted standard score (b) were .124 , .108 , and .095 , respectively, and the coefficient of multiple correlation (R) was .739 forecasting coefficient (R2) equal. 546 and has power to predict a 54.6 percent standard error (SEest) was .372 , and the constants of the equation, the raw score (a) equal to .611 .

          Phase 2 creates a model developed in International Technology Nongkhai Group Collage Limited to the organization of learning. By organizing activities   and programs related to workforce development. Development environment and organizational culture Goals and feedback on performance. Important is the practice

            Phase 3 evaluation, using the model developed International Technology Nongkhai Group Collage Limited, is a learning organization. Using pre-test        and post-test showed that the characteristics of the process and the manner in which a product development background better than before the development of statistically significant at the .05 level.

Keyword : Developing, Collage Limited, Learning Organization

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

แสณจันทร์ ท., ศิริสวัสดิ์ ช., & ทองเหลา ภ. (2016). รูปแบบการพัฒนาวิทยาลัยในเครือเอ็น-เทคอินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคายกรุ๊ป จำกัด ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ A Developing Model of International Technology Nong Khai Group Collage Limited to be Learning Organization. Chophayom Journal, 26(2), 235–245. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/52330

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์