รูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิต ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด An Encouraged Model for Blood Donation Among People in Roi-Et Province.
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคโลหิตของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิตของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิตของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งการวิจัย เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริจาคโลหิต ของประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชาชนอาศัยอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 320 คน อายุ 17-60 ปี เคยบริจาคโลหิต จำนวน 160 คน ไม่เคยบริจาคโลหิต จำนวน 160 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) การศึกษาเชิงคุณภาพจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิตของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการ นำปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริจาคโลหิต ที่ค้นพบจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างชุดรูปแบบจำลอง ภายใต้กรอบทฤษฏีความตั้งใจกระทำตามแบบแผน ทฤษฎีเครือข่ายและการสนับสนุนทางสังคม สุนทรียสนทนา และการเขียนแผนการสอนสุขศึกษา เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 22 คน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยขั้นตอนที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง นำชุดรูปแบบที่สร้างขึ้น จากการวิจัยขั้นตอนที่ 2 มาทดลองใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม จำนวน 44 คน เลือกแบบเจาะจง จากประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่เขต 8 หมู่บ้าน ของหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลเมืองสรวง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคุณแบบวัดซ้ำ ( Repeated Measure MANOVA ) เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง และการวิจัยขั้นตอน ที่ 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการนำเสนอผลการวิจัย ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการใช้แบบประเมินผลการนำเสนอวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปจัดทำชุดรูปแบบฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1). ความรู้เกี่ยวกับโลหิตและการบริจาคโลหิต ปัญหาอุปสรรคต่อการบริจาคโลหิต และพฤติกรรมตั้งใจบริจาคโลหิต เป็น 3 ปัจจัยจากการสำรวจที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัย
ที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต จากการสนทนากลุ่มมี 6 ปัจจัยได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลหิตและการบริจาคโลหิต ปัญหา
อุปสรรคต่อการบริจาคโลหิต พฤติกรรมตั้งใจบริจาคโลหิต แรงจูงใจในการบริจาคโลหิต การสื่อสาร และการสร้างเครือข่าย
2). รูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิตของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการอบรมสุนทรียสนทนาเพื่อการบริจาคโลหิต กิจกรรมจัดตั้งเครือข่ายบริจาคโลหิต กิจกรรมรณรงค์เพิ่มจำนวนผู้บริจาคโลหิต กิจกรรมจิตอาสาดูแลผู้บริจาคโลหิตและร่วมบริจาคโลหิตด้วยสมัครใจ และ กิจกรรมสุนทรียสนทนาหลังบริจาคโลหิต
3. การทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิต ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ก่อนและหลังทดลองประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : รูปแบบการส่งเสริมการบริจาคโลหิต, ประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด
ABSTRACT
This research was mixed methods study. The research objectives were to 1) study the factors that affect the blood donation of the people, 2) design an encouraged model for blood donation among people in Roi-Et province and 3) to evaluate the encouraged model for blood donation. The research methodology consisted of four steps. Step 1; to study factors that affect the blood donation of the people in Roi -Et province. The study used quantitative and qualitative methods. The target population of quantitative study consisted of 320 peoples, sample aged 17 - 60 years, had donated blood 160 peoples and never donated blood 160 peoples. The data were collected by a questionnaire and analyzed by computer program. The Discriminant analysis and stepwise method were used. Focus group discussion was used for qualitative study two groups. The samples were 12 people per group. The data were analyzed by content analysis. Step 2; design an encouraged model for blood donation among people in Roi-Et province with used the results from the step one to integrate with the Theory of Planed Behavior, Social net-work and Social support theory, Dialogs, writing lesson plans health education and mixed methods study. The target population of step two consisted of twenty two participants; academicians and stakeholders. They were selected by purposive sampling technique. The research methodology of step two focus on design a basic encouraged model, criticizing and developing the model. Step 3 was quasi – experimental research. The target population consisted of forty four people in eight villages at primary care unit of Muang Suang hospital. They were selected by purposive sampling technique. The data were collected by a questionnaire and analyzed by computer program. Repeated Measures Multivariate Analysis of Variance (Repeated Measure MANOVA) was employed for hypothesis testing. Step 4 was qualitative research. The researcher was presented research results and update to the classic encouraged model perfectly. The target population consisted of fifty stakeholders in Roi-Et province. They were selected by purposive sampling technique. The data were collected by an evaluation format and content analysis was used. The results were as follows:
1. The finding of research survey is the third factor affecting blood donations indicate that knowledge, obstacles and behavioral intention at the 0.01 level. Focus group discussion has 6 factors indicate that knowledge, obstacles, intention, motivation, communication and network.
2. An encouraged model for blood donation among people in Roi-Et province consisted of 5 activities; dialogue for blood donation, blood donation networking, campaigning to increase register of blood donors, a volunteer of caring to blood donors and voluntarily of blood donation, dialogue after blood donated.
3. Regarding evaluation of the model, the results indicated that knowledge, attitudes and practices were different between before and after implementing at the statistic significant 0.05
Keywords: An encouraged model for blood donation, The people in Roi-Et province.