หมอธรรม : ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และเครือข่ายทางสังคมในภาคอีสาน THE HISTORY, BELIEFS AND IMPACTS OF MODHAM IN ESAN ON SOCIAL NETWORKS

Authors

  • ปฐมพงศ์ ลิ้มเจริญ
  • ศรัญญา ประสพชิงชนะ
  • ราชันย์ นิลวรรณาภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ความความเชื่อ และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อหมอธรรมในภาคอีสาน 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายทางสังคมของหมอธรรมในภาคอีสาน และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของพิธีกรรมหมอธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตชาวอีสานโดยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ผลการวิจัยพบว่า หมอธรรม คือผู้เรียนวิชาธรรม สามารถขับไล่ภูตผีปีศาจ ถอดคุณไสย การเปลี่ยนแปลงความเชื่อหมอธรรมคือ (1)นโยบายปราบปรามกบฏผีบุญภาคอีสานกรณี หลวงพ่อพิบูลย์และหลวงปู่สีทัตถ์ (2)พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ รศ. 121 กรณีหลวงพ่อพิบูลย์ (3) นโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์กรณีหลวงปู่บุญกู้ม (4) นโยบายควบคุมหมอพื้นบ้านอีสานในปัจจุบันกรณีพระอาจารย์เจริญ

เครือข่ายทางสังคมหมอธรรมในภาคอีสาน เป็นความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม คือ(1)การเข้าร่วมเครือข่าย (2) กิจกรรมและพิธีกรรมหมอธรรม(3) ตำราธรรม(4) หลวงปู่ (5) ความสัมพันธุ์ของสมาชิกในเครือข่าย (6) ความสืบเนื่องของเครือข่าย คือด้านการปกครองท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม

บทบาทและความสำคัญของพิธีกรรมหมอธรรมต่อวิถีชีวิตชาวอีสานคือ  (1) บทบาทต่อการสร้างความมั่นคงทางจิตใจ เป็นกลไกทางวัฒนธรรมที่ช่วยให้มนุษย์มีสภาวะจิตใจที่ดีก่อให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของชีวิต (2) บทบาทต่อการควบคุมทางสังคมคือ 1) การควบคุมภายใน เป็นการควบคุมด้วยการปลูกฝังคุณธรรม เกิดความสำนึกขึ้นภายในจิตใจเอง 2) การควบคุมภายนอก เป็นการควบคุมด้วย ขะลำ ฮีตคอง ตลอดจนการบทลงโทษต่างๆ

 

BSTRACT

The purposes of this research were 1) to study history, beliefs, and the change in beliefs of Modham in Isan region 2) to study the community network of Modham in Isan region, and 3) to study roles and significant rites that have influence to Isan people. Qualitative research technique was applied to the study.

From the research, Modham is a person who study Buddhist scripture and has ability to expel dark spirits or black art. The change in believing in Modham were caused by (1) the anti-rebel policy from the government in which Modhams, LoungPhur Phibul and LoungPhu Si-That, were suspected as Isan rebel because both were the community leader (2) The Sangha Act of 1902 (3) The anti-communist policy, referring to LoungPhu Bun-Ghum, and (4) Local medicine practitioner, referring to Pra Ajarn Ja Roun.

The community network of Modham in Isan region consists of (1) participation (2) Modham activities and rituals (3) Modham texts (4) LoungPhu (5) relationship of members in the network and (6) the continuity of the network in regards to local governance, economy, and socioculture.

Roles and significant rites that have influence to the way of Isan people live (1) The role of creating mental stability that based on morality. This will leverage positive mindset of the people and create a good balance of life. (2) The role creating a good society by using 1) “implant” the moral concept to people mindset, so people will aware of doing good or bad 2) The use of Kha-Lam(taboo) and others punishments.

Downloads

How to Cite

ลิ้มเจริญ ป., ประสพชิงชนะ ศ., & นิลวรรณาภา ร. (2016). หมอธรรม : ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และเครือข่ายทางสังคมในภาคอีสาน THE HISTORY, BELIEFS AND IMPACTS OF MODHAM IN ESAN ON SOCIAL NETWORKS. Chophayom Journal, 27(1), 25–34. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/72689

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์