กลวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูที่มีต่อการแก้ไขงานเขียนของผู้เรียน : กรณีศึกษาวิชาการเขียนของวิชาเอกภาษาอังกฤษ

Authors

  • สุภาพร สีสังข์
  • พิมพ์ยุพา ประพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูต่องานเขียนของผู้เรียน
เพื่อศึกษาผลการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูที่มีต่อการแก้ไขงานเขียนผู้เรียนโดยมีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน
แก่นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ จำนวน 20 คนซึ่งลงทะเบียนวิชาการเขียนเชิงขยายความและแสดงความคิดเห็น
และจูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม (Expository and Argumentative Composition) และวิชาการเขียนเชิงพรรณนา
และเชิงบรรยายความ (Narrative and Descriptive Composition) โดยใช้วิธีการสอนแบเน้นกระบวนการ ตลอด
ระยะเวลา 16 สัปดาห์งานเขียนของผู้เรียนประกอบด้วย 3 รูปแบบ อันได้แก่ การเขียนแสดงความคิดเห็นและ
จูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม (argument)การเขียนเชิงพรรณนา (narration) และเชิงบรรยายความ (description)
โดยผู้เรียนได้รับมอบหมายให้เขียนตาม 3 รูปแบบดังกล่าว จำนวนรูปแบบละ 2 หัวข้อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเครื่องบันทึกเสียงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ข้อมูลได้มาจากการเปรียบ
เทียบการเขียนฉบับร่างที่ 1 กับฉบับร่างที่ 2และหัวข้อแรกกับหัวข้อต่อไปของแต่ละรูปแบบการเขียน เพื่อตรวจ
สอบการพัฒนาการเขียนของผู้เรียน (คุณภาพการเขียนแบบองค์รวม และข้อผิดพลาดในการเขียน) ผลการวิจัย
พบว่ากลวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูต่องานเขียนของผู้เรียนที่ใช้มากที่สุดได้แก่ การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยการ
เขียนและด้วยการวาจาแบบตรงโดยไม่มีคำ อธิบายทางภาษาศาสตร์ (direct non-metalinguistic and explicit
correction) และผลการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูที่มีต่อการแก้ไขงานเขียนผู้เรียนทางด้านความถูกต้องทางไวยากรณ์
พบว่าข้อผิดพลาดในการเขียนในลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีการพัฒนาคุณภาพการเขียน
ทางด้านความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ด้านองค์ประกอบและความคิดแต่ไม่ลดข้อผิดพลาดในการเขียนในหัวข้อ
หรืองานเขียนชิ้นต่อไป ผลการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการเขียนของผู้เรียนพบว่า ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ
โครงสร้างประโยครองลงมาคือการใช้คำผิด คำกริยา ส่วนเติมท้ายคำ และคำนำหน้านาม ตามลำดับ
 

ABSTRACT


This study aimed to investigate writing teachers’ strategies in giving feedback and their effects on learners’ revisions. Different types of feedback were given to 20 college learners majoring in English enrolled in a 16-week Expository and Argumentative Composition, Narrative and Descriptive Compositioncourses using a process approach in a Thai university. The learners wrote writing task of three different genres (argument, narration and description) with two topics for each genre.The research tools consisted of classroom observations and an audio-recorder. Error rate reduction means of five error categories, percentage, word count, standard deviation and t-test were used for data analysis. The total of first and seconddrafts, the first and the latertopics of writing taskswere compared to see the improvement of student writing (holistic writing,targetedlinguistic errors).The results showed that direct non-metalinguistic written correction and direct oral corrective feedback named-explicit correction, were used most frequently in teachers’strategies in giving written feedback on learners’ writing.The effect of teachers’ corrective feedback on Thai EFL learners’ revision,Paired Sample T-Test revealed a highly significant improvement in
thelearners’ holistic writing and reduction of errors in comparing first and last writing, but there was no significant difference in the later topics. The result of error analysis shows that the highest error rate was found in sentence structure, followed by wrong word, verb, noun endings, and articles, respectively

 

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

สีสังข์ ส., & ประพันธ์ พ. (2016). กลวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับของครูที่มีต่อการแก้ไขงานเขียนของผู้เรียน : กรณีศึกษาวิชาการเขียนของวิชาเอกภาษาอังกฤษ. Chophayom Journal, 27(1), 73–89. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/72694

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์