ผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ภรรยาป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก The Effects Of Solution Focused Therapy On Marital Relationships Of Couples Who Have Cervical Cancer Wive
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกต่อสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ภรรยาป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คู่สมรสที่ภรรยาป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ที่มีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 โดยประเมินจากแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.95 สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากคู่สมรสที่ได้ จำนวน 20 คู่ และสุ่มเข้ากลุ่ม (Random Assignment) เป็นกลุ่มทดลอง 10 คู่ กลุ่มควบคุม 10 คู่ โดยที่กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออก จำนวน 6 ครั้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างได้รับการวัดสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ คู่สมรสที่ภรรยาป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล มากกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคู่สมรสที่ภรรยาป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล มากกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purposes of this research were to study the effects of Solution-Focused Brief Therapy (SFBT) on marital relationship of couples who have cervical cancer wife. The sample used in this research was couples who have cervical cancer wife who had marital relationship
scores lower than 25 percentile. They were selected by simple random sampling 20 cases and random assignment into two groups each group consisted of 10; experimental group and controlled group. The research instruments were marital relationship scale and counseling program based on SFBT. The experimental group received 6 sessions of counseling 60 minutes once a week for 6 weeks while the controlled group did not. The data collection was divided into three phrases; pre-trial, post-trial and follow up.
The research results, shown that the marital relationship of couples who have cervical cancer wife who received counseling based on SFBT was higher than the control group in post--trial and follow up period at .05 significance level. Moreover, the marital relationship of coupleswho have cervical cancer wife who received counseling based on SFBT in post-trial and follow up period was higher than the pre-trial period at .05 significant level.