การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย The Indicators Development for Ethical Leadership Behavior of Female Administrators in the Secondary School of Thailand

Authors

  • ญาตา กรุณาการ
  • ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย และเพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสตรี ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในประเทศไทย ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสตรีและรองผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในประเทศไทย จานวน 250 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.973 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างกรอบแนวคิดและการพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในประเทศไทย มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 50 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1.) องค์ประกออบหลักด้านความซื่อสัตย์มี 17 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านความรับผิดชอบมี 17 ตัวบ่งชี้ และ3) องค์ประกอบหลักด้านความยุติธรรมมี 16 ตัวบ่งชี้ 2.) ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรม ของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากค่าทางสถิติ (Chi - square = 25.917, ค่า df = 21, ค่า P = 0.2096, ค่า CFI = 0.998, ค่า TLI = 0.996, ค่า SRMR = 0.014, ค่า RMSEA = 0.031

 

ABSTRACT

This research aimed to construct and develop indicators for behavior in relation to ethical leadership of female administrators in secondary school of Thailand secondary school in Thailand. And to examine the harmony of structural relationship model of the behavioral relationship for ethics leadership of secondary school administrators for girls in Thailand. As in Thailand, to builded and developed have conformed to empirical data through the sample group for this study consisted of 250 administrators of girl’s school and assistant administrators of girl’s school obtained through multi-level rating scale questionnaire with 0.973 reliability, and content validity of 0.60-1.00. The collected data were analyzed by using a computer software program.


Results of the study are as follows : 1) Results of constructing and developing of the conceptual framework and indicators of ethical leadership for female administrators in the secondary school in Thailand, this model consists of 3 major factors and 50 indicators as follows: 1. The major factor regarding Faithfulness consists of 17 indicators; 2. The major factor regarding Responsibility consists of 17 indicators; and 3. The major factor regarding Justice consists of 16 indicators. And 2) The goodness of fit of the structural relationship model of ethical leadership indicators with the empirical data reveal that the model is in congruence with the empirical data. (Chi – square = 25.917, df = 21, P = 0.2096, CFL = 0.996, SRMR = 0.014, SMSEA = 0.031)

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

กรุณาการ ญ., เยี่ยมแสง ธ., & กางเพ็ง ส. (2016). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย The Indicators Development for Ethical Leadership Behavior of Female Administrators in the Secondary School of Thailand. Chophayom Journal, 27(1), 187–196. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/72711

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์