การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนไทรทองวิทยาคาร อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ Participatory Development of Learning Sources in Saithongwitthayakhan School, Nong Kung Si District, Kalasin Province

Authors

  • อำนาจ ธารบุญ
  • วรวรรณ อุบลเลิศ
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไทรทองวิทยาคาร 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไทรทองวิทยาคาร 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไทรทองวิทยาคารใช้หลักวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีกระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ขั้นการร่วมกันวางแผนขั้นการร่วมกันปฏิบัติ ขั้นการร่วมกันสังเกตการณ์ และขั้นการร่วมกันสะท้อนผล กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คนผู้ให้ข้อมูล จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการประชุม แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการสร้างแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพร แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไทรทองวิทยาคารมีแหล่งเรียนรู้ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ ควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และควรมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายแต่ความต้องการร่วมกันมากที่สุด คือ ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้สวนสมุนไพร 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ควรจัดทำโครงการขึ้นเพื่อของงบประมาณสนับสนุนจากทางโรงเรียนและให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกันโดยมีแนวความคิดร่วมกันถึงการวางแผนการพัฒนาและรูปแบบของสวนสมุนไพรร่วมกันว่าจะปลูกในแปลงอิฐบล็อกรูปทรงสี่เหลี่ยมความยาวด้านละสองก้อน รวมทั้งสร้างรั้วรอบขอบชิดให้เป็นระเบียบสัดส่วนสวยงาม ส่วนผลของการพัฒนาทำให้ได้สวนสมุนไพรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ครู นักเรียน ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากสวนสมุนไพรอย่างคุ้มค่า รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 3) ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (4.62)

 

ABSTRACT

The research aimed to: 1) study the state of problems and needs for development of learning sources in Saithongwitthayakhan School; 2) study suggestions and guidelines on development of learning sources in Saithongwitthayakhan School; and 3) study the level of students’ satisfaction with the organization of learning sources in Saithongwitthayakhan School. The methodology was action research with the research process comprising planning together, takingaction together, observing together and reflecting the results together. The research group consisted of 12 researchers, and there were 45 informants. The instruments were an interview form, a form for focus group discussion, minutes of the meeting, a behavioral observation form for the focus group, an observation form for building an herb garden as a learning source, and a satisfactory questionnaire. The analysis of the quantitative data employed the mean, percentage, and standard deviation. The analysis of the qualitative data employed a descriptive analysis.

The results are as follows: 1) The results of the study of the state of problems and needs for development of learning sources in Saithongwitthayakhan School revealed a lack of
learning sources and thus learning sources should be developed to nurture learning organization,and learning sources should be various. The needs for development of learning sources were various and the most common need was building an herb garden as a learning source. 2) Regarding the suggestions and guidelines on development of learning sources, the research group proposed a project of building an herb garden as a learning source with participation of everyone. The development was planned and the garden was designed. The development yielded an herb garden which could foster learning. Teachers, students, and the community could make use of the garden to the best of its worth and they learned how to seek knowledge independently. 3) The students’ satisfaction with the learning source in Saithongwitthayakhan School was in the highest level (4.62)

Downloads

Published

2016-01-01

How to Cite

ธารบุญ อ., อุบลเลิศ ว., & เรืองสุวรรณ ช. (2016). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนไทรทองวิทยาคาร อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ Participatory Development of Learning Sources in Saithongwitthayakhan School, Nong Kung Si District, Kalasin Province. Chophayom Journal, 27(1), 219–229. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/72716

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์