การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และโมเดลซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการคิดวิเครา

Authors

  • ธวัชชัย เครือศรี
  • พรทิพย์ อติชาติ
  • จีระพรรณ สุขศรีงาม

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ จากการเรียนประเด็น
ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และโมเดลซิปปานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกันจำนวน 30 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มแล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 15 คน เรียนรูปแบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มที่2 จำนวน 15 คน เรียนรูปแบบผสมผสานตามโมเดลซิปปา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ 3 ประเด็น ได้แก่ การสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม การตัดไม้เพื่อขยายถนน และการใช้สารเคมีในการเกษตร สำหรับการเรียนแบบผสมผสานตามวิธีวิธีการทางวิทยาศาสตร์และโมเดลซิปปา อย่างละ 3 แผน ใช้เวลาเรียนแผนละ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการโต้แย้ง แบ่งเป็น 4 ชุดๆละ 4 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์ด้านความสำคัญ การวิเคราะห์ด้านหลักการ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two-way MANCOVA และ (ANCOVA)

Downloads

How to Cite

เครือศรี ธ., อติชาติ พ., & สุขศรีงาม จ. (2016). การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และโมเดลซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการคิดวิเครา. Chophayom Journal, 27(2), 83–92. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73494

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์