การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และวิธีวัฎจักร การเรียนรู้5ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่างก

Authors

  • สุคนธา โคตรโสภา
  • ปัทมาวดี ปาสาจะ
  • ภูวดล โกมณเทีย

Abstract

บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนจะต้องจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทจริงของนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาความสามารถโต้แย้ง และการคิดระดับสูงได้เพื่อจะทำให้นักเรียนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่สามารถดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม จึงควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับครูวิทยาศาสตร์ต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้ง และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยส่วนรวม ที่มีผลการเรียนชีววิทยา และเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 98 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น2 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 49 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 49 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 เรื่อง คือ การปลูกถ่ายอวัยวะ การโคลนนิ่ง และการทำแท้ง สำหรับการเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น อย่างละ 3 แผนๆ ละ 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (2) แบบประเมินความสามารถในการโต้แย้ง 4 ฉบับๆ ละ 4 ข้อ (3) แบบทดสอบวัด ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 40 ข้อ มี4 ด้าน คือ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต การนิรนัย การอุปนัย และการระบุข้อตกลงเบื้องต้น การทดสอบสมมติฐานใช้Paired t-test และF-test (Twoway MANOVA และANCOVA)

Downloads

How to Cite

โคตรโสภา ส., ปาสาจะ ป., & โกมณเทีย ภ. (2016). การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์หลังเรียนประเด็นปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และวิธีวัฎจักร การเรียนรู้5ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่างก. Chophayom Journal, 27(2), 113–126. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73497

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์