การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ ผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อ ความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธ

Authors

  • อนงค์นาถ พรมพินิจ
  • ชาติไทย แก้วทอง
  • น้อย เนียมสา

Abstract

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จะต้องเลือกเนื้อหาที่จะเรียนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อนักเรียน โดยเฉพาะเนื้อหาประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ จะสามารถพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งและการคิดขั้นสูง เช่นคิดวิเคราะห์คิดเชิงเหตุผล และคิดเชิงวิจารณญาณ ของนักเรียนได้ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของ สังคมในระบอบประชาธิปไตย จึงควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับครูวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลการเรียนฟิสิกส์ต่างกัน จำนวน 76 คนจาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 38 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 38 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัด การเรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ 3 ประเด็น ได้แก่ การ โคลนนิ่ง การทำแท้ง และพืชดัดแปลงพันธุกรรม สำหรับการเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อย่างละ 3 แผน ใช้เวลาเรียน แผนละ 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการโต้แย้ง แบ่งเป็น 4 ชุดๆ ละ 4 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัด การคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Twoway MANCOVA และ ANCOVA)

Downloads

How to Cite

พรมพินิจ อ., แก้วทอง ช., & เนียมสา น. (2016). การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ ผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานกับรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อ ความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธ. Chophayom Journal, 27(2), 127–138. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73498

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์