รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง A Model of Self-Reliance Development of People in Sufficiency Economy Villages
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนา และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างเชิงเส้น (Path Analysis) เพื่ออธิบายปัจจัยเชิงสาเหตุที่บ่งบอกอิทธิพลของเส้นทาง ด้วยโปรแกรม LISREL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้จากการกำหนดขนาดและสุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คนโดยใช้สูตรการคำนวณเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์การวิจัย และเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลตามวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้จัดสนทนากลุ่ม โดยใช้แนวคำถามเพื่อการจัดสนทนากลุ่ม เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน และ 2) กลุ่มเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการทำอาชีพ
เกษตรกรรมที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในการพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับนักวิชาการเกษตรและพัฒนาชุมชนจำนวน 20 คน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง2) ร่างรูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการทำอาชีพเกษตรกรรมที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในการพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับนักวิชาการเกษตรและพัฒนาชุมชน จำนวน 6 คน และผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบการพัฒนา จำนวน 3 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในบ้านดอนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คนเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบสอบถามการวิจัย 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนา 3) แบบสังเกตแบบแบบไม่มีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) Path Analysis และ MANOVA (Repeated Measure)