ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการต่อการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม THE SATISFACTION OF CLIENTS WITH THE SERVICES OF THE MAHASARAKHAM AGRICULTURAL LAND REFORM OFFICE
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และความถี่ของการมาใช้บริการต่อการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม และศึกษาข้อเสนอแนะต่อการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้มาใช้บริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 276 คน โดยใช้วิธีการสุ่ม
แบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับที่ระดับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test และทดสอบค่า F – test
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการต่อการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
มหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านอาคารสถานที่ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการต่อการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและความถี่ของการมาใช้บริการ แตกต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม มีดังนี้ ควรสนับสนุนวงเงินสินเชื่อกองทุนฯ เพิ่มขึ้น ควรจัดให้มีการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ สินเชื่อเงินกองทุนฯ ควรคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท ควรจัดให้มีสำนักงานสาขาฯ สำนักงานฯ ควรเป็นเอกเทศ ควรจัดหาน้ำดื่มเพิ่มขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์/บรรยายความรู้เกี่ยวกับ ส.ป.ก. เพิ่มขึ้น ควรจัดเอกสารแผ่นพับเพิ่มขึ้น ควรจัดให้มีการทำหลังคาบริเวณสถานที่จอดรถ และควรเพิ่มจำนวนเก้าอี้ที่นั่งรอต่อผู้มาใช้บริการ