การพัฒนา รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ด้วยกลยุทธ์การตลาด เพื่อสังคม ในจังหวัดมหาสารคาม (Development of Health Promotion Model for Diabetes Mellitus HighRisk group by Applying Social Marketing Strategies in Maha Sarakham Province)
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และ 2) ประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหาจากตำรา เอกสาร งานวิจัยที่ผ่านมา และสถานการณ์โรคเบาหวาน ซึ่งค้นหาทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ 1) กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านลาดหมู่ 5 และหมู่ 19 ต.ลาดพัฒนา อ.เมือง จ.มหาสารคาม (กลุ่มทดลอง) สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ 2) กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เป็นข้าราชการ หรือผู้ประกันตนมารับการตรวจสุขภาพประจำปี ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม มีผลการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มละ 44 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การสื่อสารเตือนภัย กิจกรรมในโครงการ “วันนี้ขยับร่างกายกันเถอะ” กิจกรรมในโครงการ “บุคคลต้นแบบ” และการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปทดลองปฏิบัติ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการตรวจสุขภาพ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกต ระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ผลการวิจัยพบว่าก่อนการทดลอง กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าดัชนีมวลกาย นํ้าตาลในเลือด ไขมันดี ไตรกลีเซอร์ไรด์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบมีการเปลี่ยนแปลงผลต่างระหว่างหลังและก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาแสดงว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม และการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลด หรือยืดระยะเวลาการเกิดโรคเบาหวานได้
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม
Abstract
The objectives of this study were to 1) develop by applying socialmarketing strategies for diabetes mellitus’s high risk group; and 2) evaluatethe health promotion model This study was comducted in 3 phases.The first phase was the study of problem conditions from related literature,previous research work, and diabetes mellitus situations, and seekedfor social capital facilitating the development of health promotion modelfor diabetes mellitus’s high risk group An experiment group consistedof 44 subjects with diabetes mellitus’s who lived in moo 5 and moo 19Ban Ladpathana, Muang district, Maha Sarakham province. The controlgroup were 44 civil servants and social security scheme members whowere diagnosed, received a regular checkup and took care as a high riskfor diabetes mellitus in Maha Sarakham general hospital. The secondphase was concerned with the development of the health promotion modelusing social marketing strategies with the community participation process,involving promotion programs : “Knowledge P romotion P rogram”,“Harm Communication and Warning P rogram”, “Let’s Move the Body’program”, “Successful P erson P rogram”, and “Promotion of OrganicVegetable Farming”. The third phase was the model implemtntation andevaluation. structured interview form and physical examination were usedfor quantitative data. collection. In-depth interview, focus group discussion,and observation were used for qualitative data collection. The studywas conducted from June 1, 2008 to D ecember 31, 2010. The result ofthe study found that both experiment and control groups did not showstatistical different in BMI blood sugar and HD L triglyceride. After theexperiment, the experiment and control groups had statistical differentceof mean. this study has revealed that the health promotion model withcommunity participation and application of social marketing strategesºwere able to change unhealthy habits related to diabetes mellitus’s highrisk group due to its result in delayed development of the disease.
Keywords: a model for health promotion development, population at riskfrom diabetes mellitus social marketing
Downloads
How to Cite
ไชยศิริ ช., สาธิตานันต์ ส., & เล้าหศิริวงศ์ ว. (2013). การพัฒนา รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ด้วยกลยุทธ์การตลาด เพื่อสังคม ในจังหวัดมหาสารคาม (Development of Health Promotion Model for Diabetes Mellitus HighRisk group by Applying Social Marketing Strategies in Maha Sarakham Province). Chophayom Journal, 23, 82–97. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/8429
Issue
Section
Research Article