สีสันในสวนสวย (Brilliant Colors in the Beautiful Garden)
Abstract
บทคัดย่อการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบาติก เรื่อง “สีสันในสวนสวย”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคบาติกเพื่อให้ได้ผลทางทัศนธาตุที่สัมพันธ์กับรูปแบบและแนวเรื่อง และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบาติกภายใต้แนวเรื่อง“สีสันในสวนสวย” โดยใช้รูปแบบสัจนิยมผลการสร้างสรรค์พบว่า ผลงานจิตรกรรมบาติก เรื่อง สีสันในสวนสวยรูปแบบสัจนิยม มีวิธีสร้างสรรค์โดยศึกษาความงามในสีสันรูปทรงของไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผลที่คนไทยนิยมนำมาปลูกตกแต่งสวนภายในที่อยู่อาศัย ส่วนประกอบ บรรยากาศภายในสวน ตลอดจนศึกษาบุคคล สัตว์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกัน แล้วนำมาจัดกระทำเป็นองค์ประกอบใหม่ตามจินตนาการ แต่ยังคงความเหมือนจริงและความเป็นไปได้จริงตามธรรมชาติ ด้วยการร่างภาพต้นแบบลงบนกระดาษแข็ง ลอกลายเส้นลงบนผ้าป่านมัสลินด้วยดินสอ ขึงผ้าให้ตึงกับโครงไม้ใช้สีรีแอคทีฟระบายลงบนผ้า เมื่อแห้งแล้วใช้จันติ้งเขียนเทียนเพื่อเก็บสีที่ต้องการแล้วล้างสีส่วนเกินออก จากนั้นจึงระบายสีภายในแต่ละรูปทรงให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ เมื่อสีแห้งแล้วซับเทียนออก จากผลการศึกษาเทคนิคบาติกเพื่อให้ได้ผลทางทัศนธาตุที่สัมพันธ์กับรูปแบบและแนวเรื่อง พบว่า เทคนิควิธีการใช้เทียนโดยวิธีการเก็บนํ้าหนักสีด้วยเทียนหนึ่งหรือสองชั้น ทำให้ทัศนธาตุสีมีนํ้าหนักที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวล กลมกลืนกันระหว่างเส้นรอบนอกกับนํ้าหนักสีภายในรูปทรงการระบายสีรีแอคทีฟแบบเปียกบนเปียก เปียกบนหมาด หมาดบนเปียก เปียกบนแห้ง แห้งบนเปียก และแห้งบนหมาด สามารถถ่ายทอดนํ้าหนักสีได้หลายมิติ จนมีความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มีความชุ่มชื่น เบาบาง โปร่งแสงเป็นไปตามคุณสมบัติที่มีคล้ายกับสีนํ้า และเทคนิคการใช้เทียนด้วยจันติ้งเป็นตัวกำหนดขอบเขตของรูปทรง ลักษณะของเส้น ลักษณะผิว ยังผลให้ทัศนธาตุ ตั้งแต่รูปทรงเส้น และพื้นผิว แสดงความเหมือนจริงได้ผลตามที่ตั้งใจ แม้มีข้อจำกัดอยู่บ้างกับขนาดของเส้นเทียนที่กั้นสีในแต่ละรูปทรง ต้องไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร แต่กระนั้นก็ตามผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดก็สามารถถ่ายทอดความเหมือนจริงอันงดงามของสวนผ่านสีสัน รูปทรง บรรยากาศของสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินเจริญใจ สดชื่นเบิกบาน มีความสุขสงบผ่อนคลายอารมณ์ สมความมุ่งหมายตามรูปแบบและแนวเรื่องที่กำหนดไว้ทุกประการ
คำสำคัญ: จิตรกรรมบาติก รูปแบบสัจนิยม และทัศนธาตุ
Abstract
The batik paintings entitled “Brilliant Colors in the Beautiful Garden,”which are intended to explore the theme of the brilliant colors in thebeautiful garden, make use of idealized realistic forms and a knowledgeof the techniques associated with batik paintings to create visual elementsconsistent with the forms and theme.To create these batik paintings, the following creative processwas utilized. First, the beauty of the colors and forms characteristic of theflowering and ornamental plants typically grown in Thai homes was studied.The artist also took into consideration the atmosphere of these gardensas well as the people, animals and objects associated with them. Thenthese elements were subjected to the artist’s creative reimaging, althoughthe forms remained realistic or at least within the realms of possibility innature. Next, a sketch was drawn on cardboard and then this sketch wastraced with a pencil onto a piece of cotton cloth, which had been stretchedtautly over a wooden frame. Then reactive dyes were applied to the cloth.Once these were dry, a tjanting was used to apply wax to those areas ofthe cloth where dye was desired while the remaining dye was washedout. In the next step, forms in the pattern were filled in with dyes similar incolor to those of the depicted plants and objects found in nature. Whenthe dyes were dry, the cloth was pressed with an iron to absorb the wax.The study found that to obtain visual elements consistent with thechosen forms and theme, the application of one or two layers of wax as ameans of preserving the weight of the colors was effective in producingvisual elements that gracefully blended the outlines of the forms and theweight of the colors within those forms. The application of reactive dyesin the manner of wet on wet, wet on damp, damp on wet, wet on dry, dryon wet, and dry on damp resulted in visual elements which successfullycreated a depth and weight of color that gave the paintings a natural,lifelike appearance. They had a luscious, delicate, translucent quality thatresembled watercolors. In addition, the use of tjanting tools in applyingthe wax to define the forms, and the nature of the lines and the surfaceresulted in visual elements, namely forms, lines, and surfaces, with thedesired realistic quality. Although the lines of wax separating the differentcolors could not be less than two millimeters in width, which representedsome restriction to the work, all of the paintings were able to convey thebeautiful and brilliant colors, forms, and atmosphere of the actual, typicalThai garden, and in so doing, they evoked the feelings of pleasure,relaxation, happiness, and peace which was the aim of these works andthe theme they explored.
Keywords: batik painting, idealized realism and visual elements
Downloads
How to Cite
ศุภตรัยวรพงศ์ ป. (2013). สีสันในสวนสวย (Brilliant Colors in the Beautiful Garden). Chophayom Journal, 23, 98–130. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/8430
Issue
Section
Research Article