นาฏยประดิษฐ์รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (The Choreography of Rajabhat Maha Sarakham University (RMU) Chuichai Dancing Performance)
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการแสดงรำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และเพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ประเมินความถูกต้องเหมาะสมในการนำไปใช้ประกอบการสอนรายวิชาฉุยฉาย(2053201) และประเมินความพึงพอใจของบุคคลทั่วไปที่ได้ชมการแสดง วิธีการศึกษาเมื่อสร้างนาฏยประดิษฐ์รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามขึ้นได้นำไปฝึกให้กลุ่มผู้ศึกษาร่วม แล้วบันทึกภาพเป็นวีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์และการละครชมเพื่อประเมินผล จำนวน 10 คน ส่วนความพึงพอใจได้นำแสดง ณ ห้องประชุมวิญญูคุวานันท์ ในพิธิเปิดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08.00 น. และให้ผู้ชมทั่วไปตอบแบบสอบถาม 30 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1. การสร้างนาฏยประดิษฐ์รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา ฉุยฉาย (2053021) ได้ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงเพลงประกอบรำ บทเพลงประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยใช้ฉันทลักษณ์ประเภทกลอนฉุยฉาย และกลอนแม่ศรี ใช้ตัวแสดงเป็นตัวพระนาง จำนวน 3 คู่ การแต่งกายเป็นแบบโบราณคดีประยุกต์ ส่วนท่ารำนั้นได้ประยุกต์จากของเดิม และสามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนสำหรับนักศึกษาสาขานาวิชานาฏศิลป์และการละคร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้2. การประเมินผลปรากฏ ดังนี้ ด้านความคิดสร้างสรรค์ของ นาฏยประดิษฐ์ฉบับนี้อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.62) ด้านความถูกต้อง เหมาะสม ในการนำไปประกอบการสอนในหลักสูตรรายวิชาฉุยฉาย (2053021) อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.67) และผู้ชมมีความพึงพอใจในการชมการแสดงนาฏยประดิษฐ์รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.62)
คำสำคัญ : ฉุยฉายสถาบัน, นาฏยประดิษฐ์, รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Abstract
The objectives of this research were to design the choreographyof Rajabhat Maha Sarakham University (RMU)’s Chuichai dancingperformance, to assess creative thinking, to assess the appropriatenessand correctness of the application for instruction in the Chuichai course,and to survey the satisfaction of the audiences with Chuichai dancingperformance. The target population was ten experts in dramatic art and30 audiences who watched the dancing performance at the internationalconference organized by RMU on 21 July 2011. The statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation.Results of this research were:1. The choreography of Chuichai dancing performance wasdesigned based on the Chuichai curriculum analysis (2053201). A Thai orchestraconsisting of groups of woodwinds and percussion was employedto play music accompanying the dance. The lyrics were composed ofthe prosody of Klon Chuichai and Klon Maesri The dance was performedby 3 couples of actors and actresses with applied ancient costume. Theold dancing styles were applied for the new Chuichai dance and used forthe dramatic art major students at Rajabhat Maha Sarakham University.2. The findings showed that the average level of the creativethinking of the Chuichai dancing performance was very high ( X =4.62).Moreover, the average level of the appropriateness and correctness ofthe dancing performance was very high ( X =4.67). Lastly, the averagelevel of the satisfaction of the audiences with the performance was veryhigh ( X =4.62).
Keywords: Institute’s Chuichai Choreography, Ram Chuichai RajabhatMaha Sarakham University.
Downloads
How to Cite
ศรีแสนยงค์ โ. (2013). นาฏยประดิษฐ์รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (The Choreography of Rajabhat Maha Sarakham University (RMU) Chuichai Dancing Performance). Chophayom Journal, 23, 131–146. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/8431
Issue
Section
Research Article