กัมรเตง อัญ : ศึกษาในประเด็นที่มาและรูปแบบการใช้คำ Kamrateng An : Origin and Pattern of Lexical Units

Authors

  • วิมล เขตตะ
  • รตนดา อาจวิชัย
  • พยงค์ มูลวาปี
  • อลิสา เล็กวานิชย์
  • ธนพล เอกพจน์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและรูปแบบการใช้คำ “กัมรเตง อัญ” ซึ่งเป็นมูลศัพท์ที่ปรากฏในจารึกในวัฒนธรรมเขมรยุคก่อนพระนคร และยุคสมัยพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-18) จากการศึกษาพบว่า คำว่า “กัมรเตง อัญ” มีความหมายว่า เจ้าชีวิตของข้า ปรากฏหลักฐานในจารึกภาษาเขมรโบราณมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา โดยรูปคำที่ปรากฏในระยะแรก คือ “กมฺรตางฺ อญฺ” “กมฺร ตาญฺ อญฺ” “กํมฺรตาง อญฺ” ก่อนจะคลี่คลายรูปแบบในเวลาต่อมา (ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14-18) เป็น “กมฺรเตง อญฺ” “กํมฺรเตง อญฺ” “กมฺรเตญ อญฺ” หลังสมัยพระนคร คำนี้ยังปรากฏใช้อยู่ แต่ทั้งรูปแบบและความหมายได้เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยรูปคำปรากฏแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ คือ คมแดง พบในเอกสารของเขมรในยุคหลังสมัยพระนคร กุมฦาแดง พบในเอกสารตำแหน่งข้าราชสำนักของอยุธยา ใช้นำหน้าตำแหน่งนามของข้าราชการชั้นล่าง ๆ เท่านั้น ส่วนด้านการนำไปใช้พบว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-19 คำ “กัมรเตง อัญ” ถูกนำมาใช้ประกอบคำนำหน้าชื่อบุคคล หรือเทพเจ้า เพื่อยกย่องบูชา แต่ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา พบว่าคำนี้ ถูกลดทอนความสำคัญลง และปรากฏเป็นคำนำหน้าของข้าราชการในระดับล่างเท่านั้น


ABSTRACT

The current study aimed to study origin and patterns of lexical uses of “Kamrateng An” which is a set of words appearing in inscription of Khmer culture in pre-Angkor and Angkor era (Between 657-1257). The result of the study found that “Kamrateng An” which could be defined as “One’s Autobiography” appeared in ancient Khmer inscription from 657. The first worlds to be appeared in the inscriptions were “Kamratang An”, “Kamratan An”, Komratang An” which were changed later on 857 to 1257 to be “Kamrateng An”, Komrateng An”, and “Kamraten An”. In the post Angkor era, these words were still used, however; patterns and meaning were changed. Various patterns were found including “Khom Dang” found in Khmer document in post Angkor era and “Khumrue Dang” found in government document of Ayuthaya. The later was used only for describing lower officers’ titles. In terms of uses, it was found that between 657-1257, the vocabulary of “KamratengAn” were used in people and gods title to signify respect. Later in the mid-14th century, thevocabulary was derogated and used only for describing titles of lower officers.

Downloads

Published

2017-06-06

How to Cite

เขตตะ ว., อาจวิชัย ร., มูลวาปี พ., เล็กวานิชย์ อ., & เอกพจน์ ธ. (2017). กัมรเตง อัญ : ศึกษาในประเด็นที่มาและรูปแบบการใช้คำ Kamrateng An : Origin and Pattern of Lexical Units. Chophayom Journal, 28(1), 11–20. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/88838

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์