สยามกับการล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453)

Authors

  • ศักดิภัท เชาวน์ลักณ์สกุล
  • สุภัทรา อำนวยสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางการเมือง สมัยรัชกาลที่ 5 ต่อการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส และ (2) การปรับตัวตลอดจนยุทธศาสตร์ทางการเมืองของสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมของอังกฤษและฝรั่งเศส ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก บริบททางการเมืองของสยามสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอยู่ท่ามกลางการแข่งขันการล่าอาณานิคมทั้งจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส และสยามได้เข้าสู่กระแสทุนนิยมโลกนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง จากปัจจัยทางเศรษฐกิจในความต้องการสะสมทุนมาเป็นตัวกำหนด ทำให้ต้องปรับตัวเข้าสู่การรัฐแบบสากลและอิทธิพลของอังกฤษ ปรับเปลี่ยนจากรัฐจารีตเป็นรัฐรวมศูนย์หรือรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ขณะนั้นอำนาจรัฐและอำนาจเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศตกอยใู่ นมอื กลมุ่ ขนุ นาง จงึ ดาํ เนนิ การแยง่ ชงิ อาํ นาจรฐั จากกลมุ่ ขนุ นางและสลายกลมุ่ การเมอื งภายใน จากนั้นพระองค์ได้ขยายอำนาจในการปกครองออกไปสู่ดินแดนรอบนอกหรือประเทศราชของสยาม เพื่อดูดซับทรัพยากรของประเทศราช โดยร่วมมือกับอังกฤษและเข้าแย่งชิงพื้นที่ในลาวและเขมรกับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประการที่สองการปรับตัวของสยามและยุทธศาสตร์ที่ใช้กับจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น นอกจากจะใช้ยุทธวิธีทั้งการรุกและยังใช้วิธีการรับทางการทูต เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด และพยายามสร้างดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างประเทศจักรวรรดินิยมทั้งสอง นอกจากนี้ยังใช้สถานการณ์การเมืองขณะนั้นมาสร้างวาทกรรมให้เป็นประโยชน์กับสยามโดยใช้คำว่า “สยามถูกรุกรานจากชาติจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส” ทำให้เกิดวาทกรรมคู่ตรงข้ามคำว่า “การเสียดินแดนของสยามต่อจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส” อันเป็น “เทคนิควิทยาการของวาทกรรม” จากกระบวนการดังกล่าวของวาทกรรม ถือว่าเป็น “การกระทำทางการเมือง” หรือวิธีการทางการเมืองของสยามที่นำมาใช้ต่อประเทศราช เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกรานประเทศราช และผลจาก”วาทกรรมถูกรุกราน”นี้ ได้ใช้ผ่านภาคการปฏิบัติต่างๆ เช่น การร่วมมือกันระหว่างสยามกับอังกฤษที่ต้องการดูดซับทรัพยากร และผลประโยชน์มหาศาลจากเหล่าประเทศราช ดังนั้น การควบรวมประเทศราช โดยรอบสยามเข้ามาเป็นรัฐชาติสยามนั้น ถือว่าเป็นการล่าอาณานิคมเช่นเดียวกับการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษนั่นเอง แต่เป็นเพียงการล่าอาณานิคมภายในของสยาม (Internal Colonialism) ดังนั้น ยุทธศาสตร์สำคัญของสยามคือการปรับตัวจากรัฐที่ถูกล่าอาณานิคม มาเป็นรัฐที่เข้าร่วมแย่งชิงล่าอาณานิคมกับจักรวรรดินิยมอังกฤษ และฝรั่งเศส
คำสำคัญ : การล่าอาณานิคม, จักรวรรดินิยม, รัชกาลที่ 5

ABSTRACT

The purpose of this research is to study 1) Political context in King Rama V Reign to the British and French imperialism colonization and 2) Adaptation and political strategists of Siam in King Rama V Reign to the British and French imperialism colonization. The research findings were as follows: (1) Siam among competition between British and French imperialism colonization. At that time, Siam had been a capitalist world since King Rama IV Reign by Bowring Treaty. As a result of the economic factors that are important to determine the capital requirements which push Siam had to adapt to the universal state for demands of British global capitalism. Siam modified from the conservative state to centralized state or absolute monarchy state. But while the state power and the international trade power is in the aristocrat hands. King Rama V must complete usurpation of state power from a group of nobles as a political breakdown within Siam. Then, he had the power to rule out expanding into territories outside the Kingdom of Siam to absorb resources by partnering with the British and beaten in Laos also Cambodia with French
imperialism. (2) Adaptation and political strategists of Siam in King Rama V Reign to the British and French imperialism colonization, in addition to, using tactical offense, also using diplomatic negotiations. It is slacken tension and trying to create a balance of power between the two imperialist countries. This is an intelligent strategy of Siam. It also takes time to build a political discourse that is beneficial to Siam which are “Siam was invaded by the British and French imperialism” and “The loss of Siam territory to British and French imperialism” It is “Technical knowledge of discourse” and “Political action” or how political Siam applied to the settlement to justify the invasion. Then, the “discourse has been invaded” use through various practices such collaboration between Siam and British want to absorb resources and the enormous benefits of these settlement. Therefore, the merger the surrounding state of Siam is considered colonialism as well as the colonization of British imperialism itself called “Internal Colonialism”. Consequently, the important strategic of Siam is an adaptation of the colonial state. Siam is participating in a race against British and French imperialism colonization. Keywords : imperialism, colonization, King Rama V

Downloads

Published

2017-06-06

How to Cite

เชาวน์ลักณ์สกุล ศ., & อำนวยสวัสดิ์ ส. (2017). สยามกับการล่าอาณานิคมสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453). Chophayom Journal, 28(1), 71–78. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/88857

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์