ปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555) Factors in Choosing Career of Students of Bachelor of Arts Chinese Program (New Curriculum 2012)

Authors

  • อดิเรก นวลศรี
  • ณิชาภา ยศุตมธาดา
  • Wang Heng

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านครอบครัว และด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจในการเลือกอาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 4 หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยจำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา ผลการเรียนเฉลี่ย ความคาดหวังในการเลือกอาชีพในอนาคต อาชีพของผู้ปกครอง/บิดา มารดา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน และอาชีพที่ผู้ปกครองคาดหวัง กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามพบว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 4 มีปัจจัยในการเลือกอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 3.95 , S.D.=0.43) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีปัจจัยในการเลือกอาชีพ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านองค์กร (μ= 4.07, S.D.=0.39) รองลงมาคือ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง (μ= 3.99, S.D.=0.56) และด้านครอบครัว (μ= 3.78, S.D.=0.59) ตามลำดับ การเปรียบเทียบการตัดสินใจในการเลือกอาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่านักศึกษา
ที่มีเพศ ผลการเรียนเฉลี่ย ความคาดหวังในการเลือกอาชีพในอนาคต อาชีพของผู้ปกครอง/บิดา มารดา รายได้เฉลี่ย
ต่อเดือนของครอบครัวและบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง คาดหวังในการประกอบอาชีพ มีปัจจัยในการเลือกอาชีพโดย
รวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่แตกต่างกันคือ ด้านครอบครัวและด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดย
กลุ่มนักศึกษาที่มีภูมิลำเนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มตะวันออกเฉียงเหนือตอนบ่น
ส่วนด้านด้านองค์กรไม่แตกต่าง คำสำคัญ : ปัจจัย, การเลือกอาชีพ , หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน , มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ABSTRACT

The purpose of this research is to 1) study the factors of students’ career choices, Who
is in 4th year of Bachelor of Arts Chinese Program (New curriculum 2012) Rajabhat Maha Sarakham University in 3 aspects: organization, family and related person; 2) compare the decision of career choice of Chinese Program students in the 4th year of Bachelor of Arts Chinese program (new 2012 curriculum) Rajabhat Maha Sarakham University, by Sex, Average Grade ,family, Expectations for Future Career Choices, Occupation of Parents, Family Income per Month and the Careers Parents Expecting. Target audience is the 4th year students of the academic year 2016, 41 person, selected by the specific. The tool used is the five-level questionnaire, statistics was used to analyze the data: frequency, percentage, mean, standard deviation, and one-way analysis of variance. The research found that 1. Factors in career selection of Chinese language program, Bachelor of Arts Chinese Program (new curriculum 2012) Rajabhat Maha Sarakham University , found that students in the fourth year of Chinese program have a career choice: the overall level was very high ( = 3.95, = 0.43) In terms of organizational ( = 4.07, = 0.39), followed by the related person ( = 3.99, = 0.56) and the family ( = 3.78, = 0.59) respectively.
2. Comparison of career decision making decisions of 4th year students Bachelor of Arts
Chinese program (New curriculum 2012) Rajabhat Maha Sarakham University, found that students by Sex, Average Grade, Expectations for future career choices, Occupation of parents, monthly income of family, Careers Parents Expecting , Overall are not dissimilar When considering each side, it was found that the difference are Family and related persons By student group with domicile. The average of up Northeast is higher than the down Northeast but the organization is no different. Keywords : Factors, Career Choice, Bachelor of Arts Chinese Program, Rajabhat Maha Sarakham University

Downloads

Published

2017-06-06

How to Cite

นวลศรี อ., ยศุตมธาดา ณ., & Heng, W. (2017). ปัจจัยในการเลือกอาชีพของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2555) Factors in Choosing Career of Students of Bachelor of Arts Chinese Program (New Curriculum 2012). Chophayom Journal, 28(1), 115–124. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/88896

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์