ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) Thai Writing Problem for Mathayomsuksa 2 Students in Mahasarakham University Demonstration School (secondary)
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการใช้ภาษาไทยในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย งานเขียนเรื่องจากประสบการณ์ และงานเขียนจากจินตนาการจำนวน 2 ชุด ทั้งสิ้น 80 สำนวน โดยทำการวิเคราะห์ปัญหาการเขียนภาษาไทย 4 ประเด็น คือ การสะกดการันต์ การใช้คำ การใช้ประโยค และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ผลวิจัยพบว่านักเรียนมีปัญหาการเขียนภาษาไทยจากการเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ด้านการใช้คำ รองลงมาคือด้านการสะกดการันต์ ด้านการใช้ประโยคและพบน้อยที่สุดด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน และพบปัญหาการเขียนภาษาไทยจากการเขียนเรื่องจากจินตนาการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ด้านการใช้คำ รองลงมาคือด้านการสะกดการันต์ ด้านการใช้ประโยค และน้อยที่สุดด้านเครื่องหมายวรรคตอน
ปัญหาที่พบมากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ปัญหาการเขียนสะกดการันต์ จากการเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้ตัวสะกดผิด และการเขียนเรื่องจากจินตนาการ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้วรรณยุกต์ 2) ปัญหาการใช้คำ จากการเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้ภาษาพูด และการเขียนเรื่องจากจินตนาการ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้ภาษาพูด 3) ปัญหาการใช้ประโยค จากการเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านขาดประธาน กริยา หรือกรรม และจากการเขียนเรื่องจากจินตนาการ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านขาดประธาน กริยา หรือกรรม 4) การใช้เครื่องหมายวรรคตอน จากการเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้เครื่องหมายปรัศนี และการเขียนเรื่องจากจินตนาการ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือปัญหาด้านการใช้ไม้ยมก คำสำคัญ : ปัญหาการเขียนภาษาไทย
ABSTRACT
The purposes of this study is to analyze the problem of writing in Thai language of
Mattayomsuksa 2 students Mahasarakham university Demonstration school (Secondary).
Participants were Mattayomsuksa 2/1 students Mahasarakham university Demonstration
school (Secondary) in the second semester of academic year 2015 a total of 40 people. The
sample were selected by Cluster random Sampling. The instruments used in the study consisted of works written from experience 2 sets of writings and imagination all 80 expression by analyzing the problem of writing in Thai language 4 type, such as the orthography of words, sentences and use punctuation. The result of this study were 1) trouble in Thai narrative writing from experience 2) sort words in order from most to least. The most problem is the use of words, followed by the orthography. The sentence and minimal use of punctuation. and have trouble writing from the author’s imagination, sort word in order from most to least . The most common problem is the use of words, followed by the orthography. The sentence And the minimal punctuation. The most common problems in each of the following: 1) issue a written orthography. The narrative writing from experience. The most common problem is the problem of spelling mistakes. And write from imagination The most common problem is a problem of tone. 2) Using words the narrative writing from experience. The most common problem is the problem of the language spoken. And write from imagination. The most common problem is the problem
of the language spoken. 3) Using a sentence The narrative writing from experience. The most common problem is the issue of the president or action verbs. And the author of fantasy. The most common problem is the issue of the president or action verbs. 4) Use punctuation. The narrative writing from experience. The most common problem is a problem of a question mark. And write from imagination The most common problem is the issue of user Amgimk. Keywords : Thai Writing Problem