สภาพการรับสารสนเทศศึกษาต่อระดับปริญญาตรี วิธีรับตรง มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ของครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Condition of High School Counseling Teachers in the Northeastern Region in Receiving Information Concerning Higher

Authors

  • ธนัณชัย สิงห์มาตย์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการรับสารสนเทศ ความสามารถในการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ และปัญหาการรับสารสนเทศการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี วิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ของครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. สื่อประเภทแผ่นพับ เป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษารู้จักมากที่สุด ได้รับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด สื่อประเภทบุคคล เป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่ามีเนื้อหาชัดเจนมากที่สุด ใช้ถ้อยคำภาษาเข้าใจง่ายที่สุด สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่ามีรูปแบบการเผยแพร่ที่น่าสนใจมากที่สุด ได้รับทันเวลากำหนดมากที่สุด และเป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาต้องการรับในอนาคตมากที่สุด สื่อกิจกรรม เป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่าเป็นสื่อที่สามารถชักจูงให้นักเรียนสนใจและมีความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามมากที่สุดสื่อวิทยุ เป็นสื่อที่ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่า เป็นสื่อที่ต้องการเพิ่มเติมมากที่สุด 2. ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสามารถในการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีรายข้อที่นำไปใช้มากที่สุดคือ ความสามารถใช้รูปแบบที่น่าสนใจและเหมาะสม ในการนำสารสนเทศที่ได้รับไปเผยแพร่ให้แก่นักเรียนได้ 3. ครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษามีปัญหาการรับสารสนเทศศึกษาต่อระดับปริญญาตรีวิธีรับตรง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาเกี่ยวกับสื่อประเภทป้ายโฆษณามากที่สุด รองลงมาคือสื่ออินเตอร์เน็ต คำสำคัญ : สารสนเทศ, วิธีรับตรง

ABSTRACT

This study aims to investigate condition in receiving, being able to use, and problems
in receiving information concerning higher education in direct way of high school counseling
teachers in the northeastern region in the academic year 2009 of Mahasarakham University.
There are 400 purposive random samplings, and the tools used is the 5 - rating scale which contains discrimination between 0.45 to 0.83 and reliability at 0.97. The statistics used are percentage, average, and standard deviation. The result of the study shows that :
1. Pamphlets are the most well - known, reachable, and usable media among the high
school counseling teachers. Individuals are the media that can give the clearest information to understand. Internet is the medium that has the most interesting format of communication and likely to be mostly used in the future. The teachers can rapidly receive updated information via the internet. Activities are the media that can mostly persuade students to pay attention and view MahaSarakham University as their study wanted place. Additionally, radio is the medium that is much needed among the teachers. 2. The level of the high school counseling teachers that can apply such information into usage when looking at the overall image is at very high. The most used aspect is the ability in information distribution to students in the interesting and proper way. 3. The level of the high school counseling teachers that face problems in receiving information concerning higher education in the direct way is at medium. The media that create most problems are billboard and internet respectively. Keywords : Information, Direct Way

Downloads

Published

2017-06-06

How to Cite

สิงห์มาตย์ ธ. (2017). สภาพการรับสารสนเทศศึกษาต่อระดับปริญญาตรี วิธีรับตรง มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ของครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Condition of High School Counseling Teachers in the Northeastern Region in Receiving Information Concerning Higher. Chophayom Journal, 28(1), 133–142. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/88899

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์