รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัด มหาสารคาม Forms of Human Resource Development in Municipal District of MahaSarakham
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคามกระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างจ????านวน 400 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลระยะที่ 1 คือ แบบสอบถามตามแนวทางของวัตถุประสงค์การวิจัยที่ผู้วิจัยพัฒนาและปรับให้สอดคล้องกับบริบทที่ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) แบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Method) และสหสัมพันธ์แคนโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม และวิพากษ์รูปแบบจากผู้มีประสบการณ์ตรง (The Critical Incident Technique) ระยะที่ 3 นำรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคามไปทดลองกับพนักงานเทศบาลตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ทดลองใช้เป็นเวลา 3 เดือน แล้วจัดทำรายงานเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซ้ำ ( MANOVA : Repeated Measures ) โดยนำผลจากการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศตำบลในจังหวัดมหาสารคาม พบว่ามี 4 ปัจจัย 5 ตัวแปร คือ 1) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ มี 2 ตัวแปร คือ (1) องค์กรส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ 2) การส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการทำงานแบบเปิดเผย โปร่งใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน 2) ปัจจัยด้านความผูกพันในงาน มี 1 ตัวแปร คือ ความภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง 3) ปัจจัยด้านการจูงใจมี 1 ตัวแปร คือ คนในองค์กรได้รับการสนับสนุนให้ได้พัฒนาตนเอง 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มี 1 ตัวแปร คือ มีการประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม มีกิจกรรม
อบรม 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) การอบรมหัวข้อการส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ 2) การอบรมหัวข้อการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการทำงานแบบเปิดเผย โปร่งใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน 3) การอบรมหัวข้อการสร้างความภูมิใจในหน้าที่ของตน 4) การสร้างทักษะในบทบาทหน้าที่ของตนเองและการสร้างทัศนคติหรือเจตคติต่อหน้าที่ของตนเอง 5) การพัฒนาตนเองในการศึกษาต่อและการอบรม 6) การประเมินผลสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. การประเมินรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กลุ่มทดลองมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ และมีการทำงานแบบเปิดเผย โปร่งใส สุจริต ไว้วางใจกัน ยอมรับซึ่งและกัน มีความภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง ได้รับการสนับสนุนให้ได้พัฒนาตนเองในการศึกษาต่อและการอบรม มีการประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดีขึ้น ความสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ABSTARCT
This research aims 1) to study factors that influence human resource development forms of officers in sub-district municipality in MahaSarakham province, 2) to create forms of human resource of development of officers in sub-district municipality in MahaSarakham Province,
and 3) to experiment and evaluate the forms. This research is divided into three phases. The first phase is to study factors that influence human resource development forms of officers in sub-district municipality in MahaSarakham Province from a sampling of 400 people which are based on Taro Yamane’s multi-stage sampling method. First phase data-collection tool is a questionnaire based on research purposes that researcher has developed and adjusted to the study contexts. After wards, analyze data using computer program used for statistical analysis that consists of Discriminant Analysis, Stepwise Method and Canonical Correlation Analysis. The second phase is to create forms of human resource of development of officers in sub-district municipality in MahaSarakham province and criticize the forms from the critical incident technique. The last phase is to experiment and evaluate the forms in Borabue sub-district municipality, Borabue, MahaSarakham province. It takes three months to experiment. Then, a researcher makes a report comparing the differences between pre-experiment data and post-experiment data using MANOVA : Repeated Measures analysis. The result shows: Four variables that influence human resource development forms of officers in sub-district municipality in Maha Sarakham province are found in five factors which are: The factor of organizational culture has two variables: (1) organizational ownership and (2) a working atmosphere, for example, transparent, honesty, trust, and acceptance. The factor of work engagement has one variable which is realizing the significance of their own duties. The factor of persuasion has one variable which is that people in an organization are supported on self-development; There are six activities concerning human resource development forms of officers in sub-district municipality in Maha Sarakham province Training session that makes everyone feels like they are a part of the organization Training session on making a good working atmosphere, for example, transparent, honesty, trust, and acceptance Training session on realizing the significance of their own duties Building skills in a position role and attitudes towards their duties Self-development of education and training-Successful evaluation of human resource development ; Pre and Post-Experiment found that the level of significance is, statistically, .05 different by having a better development after the experiment. Keywords : Forms of Human Resource Development