ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชน จังหวัดมหาสารคาม STRATEGIES FOR DEVELOPING THE NETWORKS OF LOCAL ORGANIZATIONS TO ENCOURAGE THE CONSERVATION OF COMMUNITY FORESTS IN MAHASARAKHAM PROVINCE

Authors

  • อวยชัย วะทา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน
ในการอนุรักษ์ป่าชุมชนจังหวัดมหาสารคาม (2) สร้างหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านใน
การอนุรักษ์ป่าชุมชน (3) ศึกษาและทดลองใช้หลักสูตรการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชน
และ (4) นำผลการศึกษาวิจัยที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
และพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียง กลุ่มตัวอย่างในการทดลองได้แก่ ผู้นำเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน จำนวน 45 คน
ซึ่งได้มาจากการ สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า
ชุมชน แบบวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชน และแบบวัดพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชน ส่วนแบบประเมินความ
สอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
ยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนคือ การฝึกอบรมผู้นำ
เครือข่ายองค์กรชาวบ้าน หลักสูตรพัฒนาผู้นำเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชน เนื้อหาหลักสูตร
ประกอบด้วยสาระ 5 หน่วยคือ (1) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำ (2) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับศิลปะการ
พูดเพื่อการสื่อสาร (3) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานและเครือข่าย (4) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการ
พัฒนาองค์กร และ (5) ความร้แู ละทักษะเกี่ยวกับการอนุรกั ษ์ปา่ ชุมชน ส่วนผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึกอบรมผู้นำ
เครือข่ายองค์กรชาวบ้านมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้และทักษะ
เกี่ยวกับภาวะผู้นำ เจตคติต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชน และพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยรวมหลังการฝึกอบรม
เพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกอบรม (p-value < 0.05) และได้มีการนำผลการศึกษาวิจัยที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาเครือข่ายป่า
ชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม และพื้นที่อื่นๆ ในภาคอีสาน
คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์, เครือข่ายองค์กรชาวบ้าน, การอนุรักษ์ป่าชุมชน

ABSTRACT

The objectives of this research were to (1) Construct and develop the Strategies for
developing the leaders of local organizations to encourage the conservation of community
forests. (2) Construct the curriculum for developing the leaders of local organizations to
encourage the conservation of community forests. (3) Study and test the curriculum for developing the leaders of local organizations to encourage the conservation of community forests, and (4) The research results used to developing the leaders of local organizations to encourage the conservation of community forests in Mahasarakham province and another community forests. The samples consisted of forty-five leaders of local organizations, who were selected by the simple random sampling technique. The research instruments were questionnaires for evaluating knowledge on the conservation of community, questionnaires for evaluating attitude on the conservation of community forest, questionnaires for evaluating behaviors on conservation of community forest. Two evaluation forms were used to assess the congruence and appropriateness of the training curriculum of 0.89. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation and paired t-test was employed for testing hypotheses. The finding of the study revealed that: The most effective strategy for forest conservation was training the leaders of local organizations. The curriculum for developing the leaders of local organizations consisted of five unites : (1) knowledge and skill on leadership, (2) knowledge and skill on art of speech for communication, (3) knowledge and skill development of teamwork and network, (4) knowledge and skills on development organization and (5) knowledge and skills on conservation of community forests. The research results showed that the leaders of the local organizations had higher scores on conservation community forests, the level of knowledge, attitudes and behaviors on conservation of community forests after training as a whole than before training (p-value < 0.05). The research results used to developing the leaders of local organizations to encourage the conservation of community forests in Mahasarakham province and another community forests in Northeastern of Thailand. Keywords : Strategies, Networks of Local Organizations, Conservation of Community Forests

Downloads

Published

2017-09-06

How to Cite

วะทา อ. (2017). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชน จังหวัดมหาสารคาม STRATEGIES FOR DEVELOPING THE NETWORKS OF LOCAL ORGANIZATIONS TO ENCOURAGE THE CONSERVATION OF COMMUNITY FORESTS IN MAHASARAKHAM PROVINCE. Chophayom Journal, 28(2), 25–36. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/98339

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์