การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง เรื่อง พินอิน ด้วย Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พิมพ์วิภา มะลิลัย
ดำรัส อ่อนเฉวียง
สุขมิตร กอมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียน เรื่อง พินอิน ด้วย Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพเกณฑ์มาตรฐาน 90/ 90 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน เรื่อง พินอิน ของผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลาง
เรื่อง พินอิน โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เลือกเรียนภาษาจีนกลาง โดยไม่มีพื้นฐานภาษาจีนกลางของโรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง พินอิน ด้วย Google classroom 2) แบบทดสอบหลังเรียน 3) การอ่านบัตรคำ จำนวน 4 ชุด และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อบทเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ พบว่า ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 90.25/ 95.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พินอิน ของผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) เท่ากับ 90.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับร้อยละ 80 และ 3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง เรื่อง พินอิน อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
มะลิลัย พ., อ่อนเฉวียง ด., & กอมณี ส. (2020). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง เรื่อง พินอิน ด้วย Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(2), 31–43. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/241795
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ทองพันธ์. (2560). การประยุกต์ใช้กูเกิลคลาสรูม เพื่อบูรณาการ ICT ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 13 –28.

เกศแก้ว ศรีแก้ว. (2561). พัฒนามัลติมีเดียฏิสัมพันธ์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัชวาล เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรม MinitabSPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทิมา เจริญผล. (2558). การพัฒนาระบบวิดีโอสตรีมมิงแบบปฏิสัมพันธ์ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนแบบรอบรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการกำกับตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชนาฏ วัฒนศิริ. (2561). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกูเกิ้ล คลาสรูม ที่มีต่อความคงทนของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรชัย กำหอม. (2543). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการสอนตามแนวคิดของออซูเบล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มัณฑนา นนท์ไชย. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการร่างภาพจริงเป็นลายเส้นและออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รมย์ธนิกา ฝ่ายหมื่นไวย์ และปริศนา รถสีดา. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom รายวิชา BNS 102: วัฒนธรรมและสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (หน้า 1323-1322). มหาวิทยาลัยรังสิต.

พีรพงศ์ เพขรกันหา. (2560). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสวนร่วมกับ Google Classroom สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สาวิตรี สิงหาด, สุฬดี กิตติวรเวช และอธิพงศ์ สุริยา. (2561). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 124– 137.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาต่างประเทศ. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว:กรุงเทพมหานคร.

Google. (2020). จัดการการสอนและการเรียนรู้ด้วย Classroom. สืบค้นจาก https://edu.google.com/

intl/th_ALL/products/classroom/?modal_active=none

Lou, H. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกเสียงพินอิน ภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Li, Y. (2560). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย เรื่อง การออกเสียงพินอิน วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.