การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

เยาวลักษณ์ ภวะโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเชิงรุก ประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเชิงรุก ประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทศบาล 4 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จำนวนทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.96/77.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6678  หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 66.78 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความคิดสร้างสรรค์และมีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองการศึกษา เทศบาลตะพานหิน. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลตะพานหิน ปีการศึกษา 2560. พิจิตร: เทศบาลตะพานหิน.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม, กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

เกื้อกมล นิยม. (2550). มากกว่าศิลปะ พิมพ์ภาพ ภาพพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สานอักษร.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรูปแบบกระตือรือร้นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ เจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาป์ที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม, กรุงเทพฯ.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ฟักรียะห์ อาบู. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ ชุดสระพาเพลิน. ปัตตานี: โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี.

ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2558.pdf.

สมพร ทับอาสา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ 4 โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่. นครราชสีมา: โรงเรียนบัวใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต1. (2560). รายงานผลคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต1. พิจิตร: ฝ่ายวิชาการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. เอกสารประกอบการประชุมโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพี่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ จังหวดตรัง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ, กรุงเทพฯ.

Best Johnson, W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

Claire, E. & Haynes, J. (1994). Classroom Teacher’s ESL Survival Kit 1. New Jersey: Prentice – Hall.

Peko A. & Varga R. (2014). Active Learning in Classrooms. Život i škola. 31(15): 59-75.

Wanner Thomas. (2015). Enhancing Student Engagement and Active Learning through Just-in-Time Teaching and the use of PowerPoint. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education. 27(1), 154-163.