การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือผู้ประกอบการ คณาจารย์เพื่อให้การชี้แนะ และการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และขั้นตอนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือผู้ประกอบการ 2) พัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือผู้ประกอบการ และ 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แนวคำถามการสัมภาษณ์ และ 3) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ ผู้เข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบประกอบด้วย 1) อาสาสมัครที่เป็นนิสิตจำนวน 50 คนแบ่งเป็น 12 กลุ่ม จำนวน 6 เครือข่าย 2) สถานประกอบการที่เป็นพี่เลี้ยงจำนวน 6 แห่ง และ 3) อาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ การพัฒนาเครือข่าย มีดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) ผู้ประกอบการ 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ที่ปรึกษา/ พี่เลี้ยง 4) ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และ 5) การบริหารจัดการเครือข่าย องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการขับเคลื่อนเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การรวมกลุ่มเครือข่าย 2) กิจกรรมภายในเครือข่าย 3) วางแผนและจัดทำแผนธุรกิจ 4) ดำเนินงานตามแผนธุรกิจ 5) ตรวจสอบการดำเนินงาน และ 6) ทบทวนแผนธุรกิจ และองค์ประกอบที่ 3 การกำกับ และติดตามเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน และ 2) การรายผลการดำเนินงานรายไตรมาส ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, SD = 0.46)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กริช ธีรางศุ. (2563). ศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://khoon.msu.ac.th/_dir/fulltext/fulltextman/full4/kit13334/titlepage.pdf
ชลิต นพรัตน์. (2560). การสอนงานและระบบพี่เลี้ยง. กรมพัฒนาชุมชน.
เบศจมาศ ชาติศักดิ์ยุทธ. (2560). รูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 [วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]. ThaiLIS TDC. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=501929
รัชนิกร อินทเชื้อ และวีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 195-209.
ศศิมา สุขสว่าง. (2567). พี่เลี้ยงในองค์กร (Mentoring in organization). https://www.sasimasuk.com/16554894/พี่เลี้ยงในองค์กรmentoring-in-organization
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ ในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียนทุกช่วงวัย: กรณีศึกษาของต่างประเทศ และประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุชีลา ศักดิ์เทวิน. (2563). รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพ ด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ฮมมะ มาซาโตะ. (2563). Zukai kettei ban coaching no "Kihon" ga minitsuku hon [Coaching: เทคนิคกระตุ้นทีมจนสำเร็จ] (วิธารณี จงสถิตย์วัฒนา, ผู้แปล). อินสปายร์.