การบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก

Main Article Content

สมหมาย ลิ้มปิติพานิชย์
จินดาภา ลีนิวา
ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา
ไพรินทร์ ทองภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับด้านการบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย 3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาการบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากร จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยด้านการบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยที่ต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่การมีตำแหน่งบริหารต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภาพรวมแตกต่างกัน 4) ตัวแปรด้านการบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศร่วมกันทำนายตัวแปรระดับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย ได้ที่ร้อยละ 52.10 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงางานของบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก สูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร รองลงมา คือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ และปัจจัยด้านระบบปฏิบัติการ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ลิ้มปิติพานิชย์ ส., ลีนิวา จ., เจริญอาภรณ์วัฒนา ป., & ทองภาพ ไ. (2025). การบริหารองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 7(1), 72–85. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/276684
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2564). หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.ops.go.th/th/ches-aboutus/duties-powers.

ณัฐพล เนื่องชมภู. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยทองสุข. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(1), 119-130.

ทิวาวรรณ ศรีสวัสดิ์ และ ปริญญา เรืองทิพย์. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสภาวะหมดไฟและปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 151-166.

ธัญญธร พัวพิทยาธร. (2565). การศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 9(2), 95-107.

ธาราทิพย์ นามวงค์ษา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปทิตตา จันทวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรภัทร เกษาพร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 17(1), 87-98.

พรรณิดา คำนา. (2563). ปัจจัยเอื้อต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 185-200.

ภัทรนันท์ ศิริไทย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(4), 157-197.

ยุทธนา อินต๊ะวงค์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 1-15.

วรรณภา ตันทิวากร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 160-181.

วิไลลักษณ์ เสริมศรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรัณย์ วัฒนา. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไปสู่ประเทศไทย 4.0 (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรประภา ภาคีอรรถ. (2562). ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร (ปริญญานิพนธ์การบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิถยา งามสมเกล้า. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 221-234.

สุรีวัลย์ ใจงาม. (2560). บรรยากาศองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2565). หน่วยงานระดับคณะวิชาหรือระดับสถาบันที่เลือกใช้เกณฑ์ EdPEx. เข้าถึงได้จาก http://www.edpex.org/p/edpex-network.html.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Peterson, E. & Plowman, G. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Phuangsuwan, P., Siripipatthanakul, S., Suttipong, R., Praesri, S., & Wadpong, S., (2024). Development of Higher Education Institutions based on education criteria for Performance Excellence (EdPEx) in Thailand. Advance Knowledge for Executives, 3(1), 38, 1-14.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.