การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัย และเพื่อจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยที่กำลังปฏิบัติการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - 3 ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 3 สังกัด รวมทั้งสิ้น 333 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูปฐมวัยมีทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัยในสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยการทำงานร่วมกับคนอื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การจัดการตัวเอง การออกแบบและจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัยในสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับดีและดีมาก โดยการทำงานร่วมกับคนอื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การออกแบบและจัดการเรียนรู้ และการจัดการตัวเอง ตามลำดับ 2) เมื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัย พบว่า ครูปฐมวัยมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตของครูปฐมวัยลำดับที่ 1 คือ การแสวงหาความรู้และการใช้เทคโนโลยีมากที่สุด รองลงมาคือ การสร้างสรรค์นวัตกรรม การออกแบบและจัดการเรียนรู้ การจัดการตัวเอง และ การทำงานร่วมกับคนอื่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ตักสิลาการพิมพ์.
วชิราภรณ์ ศรีผา, สุวิมล โพธิ์กลิ่น, และ ชวนคิด มะเสนะ. (2564). อนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2562-2572). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1681-1694.
วิจารณ์ พานิช. (2562). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี (2564). สารสนเทศด้านการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี กระทรวงศึกษาธิการ. https://edustatistics.moe.go.th/student13
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล. (2564). การออกแบบการเรียนการสอน: ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู. วารสาร นาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 107-115.
Barber, M., & Mourshed, M. (2007). How the world's best-performing school systems come out on top. A survey of McKinsey & company.
Darling-Hammond, L., Hyler, M. E., & Gardner, M. (2017). Effective teacher professional development. Learning Policy Institute.
Ebbeck, M., & Waniganayake, M. (2017). Early childhood professionals: Leading today and tomorrow. Elsevier.
Educathai. (2023). การพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสำหรับครูปฐมวัย. https://www.educathai.com
Hodges, C. B., & Fowler, D. J. (2020). The COVID-19 crisis and faculty members in higher education: From emergency remote teaching to better teaching through reflection. International Journal of Multidisciplinary Perspectives in Higher Education, 5(1), 118-122.
Knowles, M. S., Holton III, E. F., & Swanson, R. A. (2015). The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development (8th ed.). Routledge.
Marr, B. (2019, April 29). The 10 vital skills you will need for the future of work. https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2019/04/29/the-10-vital-skills-you-will-need-for-the-future-of-work/
McKinsey Global Institute. (2020). Defining the skills citizens will need in the future world of work. https://www.mckinsey.com/industries/public-and-social-sector/our-insights/defining-the-skills-citizens-will-need-in-the-future-world-of-work
National Association for the Education of Young Children. (2019). Professional standards and competencies for early childhood educators. https://www.naeyc.org/resources/position-statements/professional-standards-competencies
OECD. (2019). Providing quality early childhood education and care: Results from the Starting Strong Survey 2018. OECD Publishing.
Palaiologou, I. (2016). Teachers' dispositions towards the role of digital devices in play-based pedagogy in early childhood education. Early Years, 36(3), 305-321.
Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st century learning. Battelle for Kids. http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_Brief.pdf
Whalen, J. (2021). K-12 teachers' experiences and challenges with using technology for emergency remote teaching during the COVID-19 pandemic. Italian Journal of Educational Technology, 29(2), 10-25.
World Economic Forum. (2020, October 20). The future of jobs report 2020. https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020
Zee, M., & Koomen, H. M. (2016). Teacher self-efficacy and its effects on classroom processes, student academic adjustment, and teacher well-being: A synthesis of 40 years of research. Review of Educational Research, 86(4), 981-1015.