ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ บันโนะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วลัยพร ศิริภิรมย์

คำสำคัญ:

จิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก, การบริหารโรงเรียน, แนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาจำนวน 283 โรงเรียนใน 3 สังกัด คือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ และสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของ Yamane (1973) โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 271 โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 96 โดยผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,441 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
      ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวมและรายด้านของการบริหารโรงเรียนอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยจากสูงที่สุดไปหาน้อยที่สุดในทิศทางเดียวกันเหมือนกันคือ การบริหารโรงเรียนในด้านที่ 1 การพิจารณาขอบเขตที่ต้องการพัฒนา ด้านที่ 2 การกำหนดผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และด้านที่ 3 การมีกระบวนการบริหารที่ชัดเจน ตามลำดับ ส่วนผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด คือ การบริหารโรงเรียนในด้านที่ 3 การมีกระบวนการบริหารที่ชัดเจน ด้านที่ 2 การกำหนดผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และด้านที่ 1 การพิจารณาขอบเขตที่ต้องการพัฒนา ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. รัฐบาลไทย. (2560). นายกรัฐมนตรียhำการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ทุกคน
ต้องร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรม สร้างสังคมคุณภาพ เพื่อนำประเทศไปสู่
ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560 จาก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3981
2. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2557). ปฏิรูปการศึกษา (10) ต้องคืนครูสู่ห้องเรียน
เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560 จาก
https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspxNewsID=957000014
1970
3. สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
Cronbach's alpha. 2007, ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559 จาก
https://www.ipernity.com/blog/248956/424773
4. สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
(2558). จังหวัดที่มีครูโรงเรียน นักเรียน ที่มากที่สุดของประเทศ. ค้นเมื่อ 7
ตุลาคม 2559 จาก https://www.uasean.com/travel/2594
6. สุนีย์ บันโนะ. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนในการเสริม
สร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้ง
โรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
7. Dill, J.S. (2013). The Longings and Limits of Global Citizenship
Education: The Moral Pedagogy of Schooling in a Cosmopolitan
Age. N.Y., U.S.A.: Rout ledge.
8. Education Improvement Commission. (2000). School Improvement
Planning for Principal, Teachers and School Councils. Toronto,
Canada: Education Improvement Commission.
9. Goulah, J. (2013). Human Education as the Means and Goal of
Life: Thoughts on Conviction 2: “Humanistic Education Is Vital to
Global Progress”. Retrieved on November 2nd, 2017 from
https://www.ikedacenter.org/20th-anniversary/history/convictions-
reflections/Goulah.
10. Ikeda, D. & Kazanjian, V. (2010). Soka Education: For the
Happiness of the Individual. Middle way Press.
11. LaBahn, J. (1995). Education and Parental Involvement in
Secondary Schools: Problems, Solutions, and Effects. Retrieved on
November 2, 2017 from https://www.
edpsycinteractive.org/files/parinvol.html
12. Oxfam Education. (2006). Education for Global Citizenship A Guide
for School. Global Citizenship. Retrieved on November 2, 2017
from https://www.oxfam.org.uk/education/global-citizenship/global-
citizenship-guides
13. UNESCO. (2014). UNESCO Education Strategy 2014-2021.
France: UNESCO.
14. UNESCO. (2017). GLOBAL CONSCIOUSNESS A roadmap on
Global Consciousness: “Thinking and Learning for the 21st
Century”. Retrieved on November 2nd, 2017 from https://
en.unesco.org/cultureofpeace/flagship-programmes/global-
consciousness
15. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. U.S.A.:
Harper & Row.
16. Young, M. & Commins, E. (2002). Global Citizenship: The
Handbook for Primary Teaching. Chris Kington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-12