บทความย้อนหลัง

  • September - December
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (2024)

  • January - April
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2024)

  • May - August
    ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (2024)

  • September - December
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (2023)

  • May - August
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2023)

  • January - April
    ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2023)

  • September-December
    ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (2022)

    การเรียนรู้ใหม่ (Relearn) เกี่ยวกับประเภทของความรู้จากการถอดรหัสทฤษฎีของความรู้

     

              ปัจจุบันมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า “ความรู้” จะมีการหมดอายุ ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “obsolete” ดังนั้นเราจำเป็นต้องยกเลิก “ความรู้” นั้น ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “unlearn” แล้วเรียนรู้ใหม่ ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “relearn”

              บทบรรณาธิการฉบับนี้ ผมจึงนำเสนอความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับประเภทของความรู้ โดยเริ่มต้นจากการแบ่งประเภทความรู้ ในหนังสือ Decoding Theory of Knowledge for the IB Diploma (Heydorn, Wendy & Jesudason, Susan, 2013) ซึ่งระบุว่ามีวิธีการจำแนกประเภทของความรู้
    4 วิธี ดังนี้

    1. จำแนกความรู้ตามระดับประสบการณ์ เป็น 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ก่อนประสบการณ์ (priori: before experience knowledge) 2) ความรู้หลังประสบการณ์ (posteriori: after experience knowledge)
    2. จำแนกความรู้ตามแหล่งประสบการณ์ เป็น 2 ประเภท คือ 1) ความรู้จากประสบการณ์ตรง (first-hand knowledge: knowledge we gain from ourselves) 2) ความรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม (second-hand knowledge: knowledge we acquire from other sources)
    3. จำแนกความรู้ตามที่มาของความรู้ เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความรู้จากการปฏิบัติ (practical knowledge) 2) ความรู้จากประสบการณ์ตรง (knowledge by acquaintance) 3) ความรู้จากความจริง (factual knowledge)
    4. จำแนกความรู้ตามลักษณะของความรู้ เป็น 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge) 2) ความรู้ร่วม (shared knowledge)

    สาระสำคัญของการจำแนกประเภทความรู้ดังกล่าวได้ระบุว่า ความรู้จากความจริง (factual knowledge) เป็นความรู้ร่วม (shared/collection of knowledge) เกี่ยวกับความจริงซึ่งมีการจำแนกเป็นสาขาวิชาหรือสาขาความรู้ (branches of knowledge) ที่มีลักษณะและวิธีการแสวงหาความรู้ที่แตกต่างกัน

    ปัจจุบันนี้ IB ได้จำแนกความรู้ร่วมจากความจริง เป็น 8 สาขา คือ 1) คณิตศาสตร์ (mathematics) 2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) 3) วิทยาศาสตร์มนุษย์ (human sciences) 4) ประวัติศาสตร์ (history) 5) ศิลปะ (the arts) 6) จริยธรรม (ethics) 7) ระบบบความรู้ทางศาสนา (religious knowledge systems) 8) ระบบความรู้พื้นบ้านหรือท้องถิ่น (indigenious knowledge systems)

  • May-August
    ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2022)

  • January-April
    ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2022)

  • September-December
    ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (2021)

1-10 of 21