ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง; Administrative Factors That Affecting Learning Organization of The Demonstration School of Ramkhamhaeng University
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรมองค์การ, องค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนสาธิต, โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การ 2) ศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 4) พยากรณ์ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการพยากรณ์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยการมีอิทธิพลอย่าง มีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การสร้างแรงบันดาลใจและการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนวัฒนธรรมองค์การภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ วัฒนธรรมการปรับตัว และวัฒนธรรมพันธกิจมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบความคิดที่หลากหลายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเป็นเลิศของบุคคล ส่วนวิสัยทัศน์ร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความสัมพันธ์กันสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อีกทั้งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ วัฒนธรรมองค์การร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีค่าอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 78.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Downloads
References
2. ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.
3. ปนัดดา ปัจธรรม, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และวัลนิภา นิลาบาง. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 1(1) : 41-48.
4. ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2548). การพัฒนารูปแบบขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา.
5. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.
6. พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.
7. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558) . ปฏิรูปการเรียนรู้ : ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
8. รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. ลัชรี เดชโยธิน. (2550). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
10. วิเชียร วิทยอุดม. (2553). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.
11. วิโรจน์ สารรัตนะ และอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ข้อเสนอผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาและการวิพากษ์. กรุงเทพมหานคร : ทิพย์วิสุทธิ์.
12. ศิริพงษ์ เศาภายน. (2550). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พอยท์.
13.สนธยา จินดามุกข์ และศยามล เอกะกุลานันต์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 36(1) : 142-154.
14. สุนทร โคตรบรรเทา. (2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ส. เอเชียเพรส (1989).
15. อพาดา สุวรรณโรจน์. (2548). การรับรู้ของบุคลากรในองค์กรแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
16. Lunenburg, Fred C. and Ornstein, Allan C. (2000). Educational Administration: Concepts and Practices. 3rd ed. New York: Maple-Vail Book.
17. Senge, P. 1990. The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday/Currency.