ภูมิปัญญาของคนไทยกับการพัฒนาการศึกษาสู่การสร้างนักนวัตกรรม; THE DEVELOPMENT EDUCATION AND THAI WISDOM FOR SHINING UP AN INNOVATOR

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, การพัฒนาการศึกษา, นวัตกร, Wisdom, Development Education, Innovator

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาเป็นคำที่แสดงถึงศักยภาพทางสมองของมนุษย์ในอันที่จะสร้างหรือพัฒนาความรู้จากประสบการณ์เพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และส่งต่อสรรพความรู้เหล่านั้นต่อไปยังชนรุ่นหลังเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งความอลังการของมนุษย์ ในการนำการพัฒนาลงสู่สังคมพื้นฐานของภูมิปัญญาของคนไทยสังคมไทยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนามีชื่อว่า “พัฒนศึกษา” หรือการศึกษาเพื่อการพัฒนา
การพัฒนาดังกล่าวภายใต้นโยบายของรัฐ สังคมสามารถนำภูมิปัญญาของตนมาเป็นเนื้อหาของการพัฒนาและใช้ในการศึกษาเป็นเครื่องมือในการถักทอการพัฒนา ซึ่งทำให้เห็นว่าภายใต้ศาสตร์ของการศึกษา เพื่อการพัฒนาหรือพัฒนศึกษา สังคมสามารถที่จะสร้างนวัตกรเพื่อนำสู่การพัฒนาสังคมและชุมชนหรือประเทศได้ ภายใต้กระบวนการพัฒนามนุษย์และสังคมโดยผ่านกระบวนการศึกษาหรือการเรียนดังกล่าวไว้ในข้างต้น

THE DEVELOPMENT EDUCATION AND THAI WISDOM FOR SHINING UP AN INNOVATOR

Wisdom only the word, does show the capacity of human brain to innovate or develop their knowledge from experiences in order to establish anything to earn their lives, and also, to pass on to for their next generation. In social development or community development, based on Thai wisdom, Thai society, education is employed for those developmental processes through learning processes and new knowledge
establishing processes. Development education is a science of education that stands not only for country development but also for social development or community development and human development. Those aspects of development led by government policy, drive the Thai society to be able to put forward the wisdom as the content of country development, while using education as a social means for weaving
all aspests of development. It has shown that development education has payed the way for a society to generate an innovator towards the social, community and country development inder social and human development processes by the above mentioned learning approaches.

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน : โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2537). วิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย วิถีใหม่แห่งการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โครงการส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนไทย.
บางจากปิโตรเลียม บริษัทจำกัด (มหาชน). (2541). พระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 : คู่มือการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนปี 2541 และทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน).
ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2560, จาก http://
www.thaitextile.org/index.php/ blog/2015/12/thti28
บ้านวังส้มซ่า โมเดล ดันพืชท้องถิ่นรับบทพระเอก. สืบค้น 30 ธันวาคม 2560, จาก https://www.prachachat.net/news_detail. Php ? newsid=1456638043

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ