บทบรรณาธิการ

ผู้แต่ง

  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

นวัตกรรมการจัดการศึกษา : นิยามใหม่ของการศึกษาแบบเรียนรวม
New Meaning of Inclusive Education

นิยามเดิม
คำว่า inclusive education หรือ inclusion ซึ่งหมายถึงทั้งการศึกษาแบบเรียนรวม และการศึกษาแบบเรียนร่วม เนื่องจากนิยามเดิมของ inclusive education คือ การจัดให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับผู้เรียนอื่น ๆ ในโรงเรียนทั่วไป ตรงกับภาษาอังกฤษอีก 2 คำ คือ mainstreaming และ integration (the practice of educating student with special needs in regular classes) แต่การจัดให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนในห้องเรียนปกติดังกล่าว มี 2 ลักษณะ คือ 1) การจัดให้เรียนด้วยกันบางวิชา เรียกว่า partial inclusion หรือ partial participation ในภาษาไทยเรียกว่า การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม 2) การจัดให้เรียนด้วยกันทุกวิชา เรียกว่า full inclusion หรือ full participation ในภาษาไทยเรียกว่า การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

นิยามใหม่
นิยามใหม่ของการจัดการศึกษาแบบ inclusion หมายถึงการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (full participation) ที่จัดให้ผู้เรียนทุกคนทั้งที่มีความต้องการพิเศษและผู้เรียนปกติที่มีความแตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ได้ทุกคนอย่างทั่วถึง ดังคำกล่าวภาษาอังกฤษว่า “Inclusion แตกต่างจาก Integration เพราะ Inclusion goes beyond disability to include all forms of diversity, and assumes that all students are a part of the regular school system from the very beginning of school.
Under the integration model, the student was expected to adapt to meet the requirements of the school; under inclusion, the school adapt to meet the needs of all students.” (Loreman, Tim; Deppeler, Joanne; and Harvey, David, 2011) 

โรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมในนิยามใหม่ จึงต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ไม่ทิ้งผู้เรียนไว้ข้างหลัง โรงเรียนจะต้องยินดีรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง และยอมรับว่าผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรตอบสนองความแตกต่าง ที่สำคัญคือ ครูจะต้องมีทัศนคติเชิงบวกหรือทัศนคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงด้วยวิธีการสอนที่แตกต่างที่เรียกว่า pedagogy of diffences (http://www.pedagogyofdiffence.co)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-11