บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ

ผู้แต่ง

  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

บทคัดย่อ

การออกแบบโรงเรียนและการเรียนรู้ใหม่ผ่าวิกฤตโควิด-19

          เมื่อโควิด-19 ยังไม่จบ การเปิดโรงเรียนและห้องเรียนแบบเดิมทำไม่ได้ โจทย์ใหม่ที่ต้องคิดหาคำตอบคือ จะออกแบบโรงเรียนและการเรียนรู้ใหม่อย่างไรจึงจะทำให้การเรียนรู้ไม่หยุดชะงัก
และทุกคนปลอดภัยจากโควิด-19

          การออกแบบโรงเรียนและการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงตามบริบทที่แตกต่างกันของนักเรียนรายบุคคลในแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างในภาวะปกติที่เรียกว่า Inclusive Learning เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายอยู่แล้ว ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ก็ย่อมยากและ      ท้าทายกว่า เพราะว่า “การเรียนรู้ ควบคู่ หยุดเชื้อเพื่อชาติ” นักเรียนต้องเรียนรู้ในลักษณะใหม่ที่ต้องมี “ระยะห่างทางสังคม” ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Social Distancing หรือ “ระยะห่างทางกายภาพ” ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Physical Distancing และจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Learning) มากกว่าภาวะปกติ จนกลายเป็นความปกติใหม่ที่เรียกว่า New Normal

          ผู้บริหารการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จึงมีความจำเป็นต้องค้นหาแนวคิดในการออกแบบโรงเรียนและการเรียนรู้ใหม่ คือ การเรียนรู้ที่แตกต่างจากแบบเดิม เช่น มีการเรียนที่บ้านโดยใช้ออนไลน์ร่วมกับการเรียนที่ห้องเรียนและโรงเรียนเพียงบางวัน หรือวันเว้นวัน

          โรงเรียนหรือการเรียนรู้แบบใหม่นี้จึงเรียกว่าเป็น “ความปกติใหม่” ของการเรียนรู้ อย่างน้อยในช่วงเวลาที่โควิด-19 ยังไม่จบ

          ประเด็นที่สำคัญของการออกแบบโรงเรียนและการเรียนรู้ใหม่ คือ การเรียนรู้ของนักเรียน แต่ละระดับการศึกษา และแต่ละโรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน การออกแบบการเรียนรู้ใหม่จึงจำเป็นต้องใช้แนวคิดที่สำคัญอย่างน้อย 3 แนวคิด

          แนวคิดแรก คือ การจัดการเรียนการสอนตามบริบท ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า  Contextual Teaching and Learning: CTL (Jonhson, Elaine, http://books.google.com) นักเรียนได้เรียนในรูปแบบหรือลีลาการเรียนรู้ (Style of Learning) และความเร็วในการเรียนรู้ (Speed of Learning) ที่เหมาะกับตนเอง

          แนวคิดที่สอง คือ การจัดการเรียนการสอนที่นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Ownership to Learning โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ที่เรียกว่า Universal Design for Learning: UDL คือมีการออกแบบสภาพแวดล้อมและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน จุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการให้นักเรียนทุกคนเป็น “ผู้เรียนระดับเชี่ยวชาญ” ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Expert Learner (Morin, Amanda, https://www.understand.org)

          การออกแบบโรงเรียนและการเรียนใหม่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องเรียนโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น และมีการเรียนด้วยตนเองมากขึ้นในระยะแรกจะเป็นสิ่งที่ “ไม่ปกติ” แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจนคุ้นชินแล้ว การใช้เทคโนโลยีออนไลน์กับการเรียนด้วยตนเองอาจกลายเป็น “ความปกติใหม่” แม้จะไม่มีโควิด-19 แล้วก็ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-08