ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสหวิทยาเขตราชนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร

ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสหวิทยาเขตราชนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ วงศา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน, การบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาในสหวิทยาเขตราชนครินทร์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน 5 ด้าน 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ 12 ด้าน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสหวิทยาเขตราชนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านค่านิยมร่วมและวิสัยทัศน์ร่วม 2) การบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนกับการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่าด้านที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ด้านค่านิยมร่วมและวิสัยทัศน์ร่วมกับการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

Charoenpoom, P. (2016). The Relationship Between Organizational Culture and the Professional Leaning Community Under the Office of Secondary Educational Service Area 25. (Master’s thesis, Khon Kaen University). [in Thai]

Elifson, Kirk W., Runyon, Richard P., & Haber, A. (1996). Fundamentals of Social Statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Inpong, A. (2012). The Academic Administration of Administrators at the Basic Educational Institutes in Yannawa District under the Bangkok Metropolis. (Master’s thesis, Dhurakij Pundit University). [in Thai]

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Office of the Basic Education Commission. (2007). Educational Administration. Bangkok: Office of the Prime Minister. [in Thai]

Pumpuang, A. (2016). Problems and Guided Developments of Academic Affairs Administration of Secondary Schools in Samutprakarn Under Secondary Educational Service Area Office 6. (Master’s thesis, Burapha University). [in Thai]

The Secondary Educational Service Area Office 2. (2019). Rajanagarindra School Cluster. Retrieved September 2, 2019, from https://data.bopp-obec.info/emis/ school. php?Area_CODE=101702 [in Thai]

Tongtaweeyot, W. (2017). Factors Affecting The Professional Learning Community of Teachers in Secondary Schools. (Master’s thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi). [in Thai]

Vehachat, R. (2007). The Academic Administration of Basic Educational School. Songkla: Thaksin Book centre. [in Thai]

Wisalaporn, S. et al. (2002). The Participative Management. Theory and Practice in Educational Administration, (12), (13). Nonthaburi Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Wongsiri, D. (2013). The relationship between Professional learning community and the teachers’ efficiency in Khon Kaen city municipality school Khon Kaen province. (Master’s thesis, Loei Rajabhat University). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย