แนวทางการขับเคลื่อนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจจัยและแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 2) นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 285 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 855 คน ผู้ให้สัมภาษณ์แนวทางในการขับเคลื่อนปัจจัย จำนวน 13 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.09) โดยพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย 4.13) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (ค่าเฉลี่ย 4.08) และปัจจัยด้านการบริหาร (ค่าเฉลี่ย 4.06) อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในด้านบุคลากร ควรมีการวางแผนการนิเทศและบรรจุไว้ในแผนการปฏิบัติประจำปี ใช้เทคนิคการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ควรคัดเลือกบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเข้าใจบทบาทการดำเนินงานนิเทศ และควรกำหนดให้ครูมีการทำ PLC (Professional Learning Community) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสะท้อนปัญหาต่างๆและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ด้านแรงจูงใจ ควรส่งเสริมให้ครูมีการปรึกษาพูดคุยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ควรจัดให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอและมีการยกย่องเชิดชูเกียรติหรือการมอบรางวัลเป็นกำลังใจ และผู้บริหารควรให้นโยบายและเป้าหมายในการทำงานที่จัดเจน โดยมอบหมายงานตามความถนัดความรู้ความสามารถของครูแต่ละคน สำหรับด้านการบริหาร ควรจัดโครงสร้างการบริหารงานให้กระจายอำนาจทั้ง 4 ฝ่ายงาน เพื่อให้งานนิเทศภายในโรงเรียนประสบความสำเร็จ โดยให้ฝ่ายวิชาการดำเนินการนิเทศด้านงานสอน ส่วนฝ่ายงานอื่น ๆ เป็นการนิเทศงานของแต่ละฝ่าย ควรส่งเสริมให้ครูตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศภายในโรงเรียนและเข้ามามีส่วนร่วมในการนิเทศ และควรแต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับติดตามงานนิเทศภายในจัดทำสรุปรายงานเสนอผู้บริหารเมื่อสิ้นภาคเรียน เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามกรอบที่กำหนดไว้
คำสำคัญ: แนวทางการขับเคลื่อนปัจจัย, การดำเนินการนิเทศภายใน, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาเล็ก
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Downloads
References
Bunsawat, W., & Tatsanakonkun, M. (2019). Guidelines for educational supervision. Bangkok: Faculty of Education. (Mimeographed). [in Thai]
Chairueang, N. (2015). The Development of Internal Supervision Model for Excellent Instruction of Schools in Nakhon Si Thammarat. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 11(2), 51-52. [in Thai]
Hadtee, S., & Julsuwan, S. (2020). Internal Supervision System for Learning Management via Professional Learning Community for Educational Opportunity Expansion Schools. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, Mahasarakham University, 5(7), 227-228. [in Thai]
Kajai, S. (2019). The guidelines for factors administration affecting school internal supervision of Nabotpittayakom school, Wangchao district, Tak province. (Master’s thesis, Chiang Mai Rajabhat University). [in Thai]
Kaemket, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Kao-ian, C. (2014). Techniques for academic administration in educational institutions, strategies, and guidelines for professional administrators (2nd ed.). Songkhla: Chanmueng printing. [in Thai]
Khongsano, S. (2015). The problems of small schools. Retrieved January 18, 2020, from http://www.parliament.go.th [in Thai]
Kingkaew, C. (2018). School administrator characteristics affecting teachers’ morale in working under Chachoengsao primary educational service area office 1. (Master’s thesis, Rajabhat Rajanagarindra University). [in Thai]
Kuiram, R. (2011). Problems and Guidelines of Internal Supervision in Small Schools under Buriram Educational Service Area Office 2. Khonkaen University Journal, 12, 1436. [in Thai]
Meechai, A. (1993). The promotion of internal school supervision of supervisors in the office of the district primary education, educational region eleven. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]
Mukem, Z. (2014). Guidelines internal supervision of private school in the special development zone of southern border provinces, Songkhla province area. (Master’s thesis, Songkhla Rajabhat University). [in Thai]
Panatreswas, N. (2016). Strategies on in-school supervision for small sized secondary schools. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]
Phanit, W. (2012). The way to build learning for disciples in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. [In Thai]
Phao-at, L. (2016). Team working of teachers in Mueang Trat expanding opportunity schools under Trat primary educational service area office. (Master’s thesis, Burapha University). [in Thai]
Rotthanit, S. (2013). Principle and theory of educational administration (3rd ed.). Bangkok: Khaofang Press. [in Thai]
Sa-nguannam, C. (2016). Theory and practice in educational institution (3rd ed.). Bangkok: Thai Rom Klao. [in Thai]
Siriruk, A. (2016). An analysis of factors affecting the effective of in-school supervision management from the opinion of the in-school supervision committees in secondary schools resulting on the external evaluation at a very good level. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]
Su-angkhawatin, S. C., & Aphanurak, P. (2019). The disappearance of schools. Retrieved January 18, 2020, from https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1611567 [in Thai]
Sudthum, P. (2016). The Ways to Develop of the School Supervision, Secondary of Educational Service Area Office Region 21. Journal of Education Mahasarakham University, 10(special issue), 1180-1181. [in Thai]
Sudrung, J. (2016). Management in-school supervision. Bangkok: Danex Intercorporation. [in Thai]
Tangkhunanan, P. (2019). Academic administration in school for sustainable development. Bangkok: Mean Service Supply Part. [in Thai]
Towthong, N. (1999). A study of the internal supervision operation in primary schools under the jurisdiction of the office of Samutprakarn provincial primary education. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]
Vehachat, R. (2014). Educational Supervision (5th ed.). Songkhla: Tame printing. [in Thai]
Winyalai, K. (2006). A study of internal supervision operation in schools in the lab school project. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.