การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาในการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโตของผู้เรียนในยุควิถีใหม่
การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาในการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโตของผู้เรียนในยุควิถีใหม่
คำสำคัญ:
เทคนิคทางจิตวิทยา, กรอบแนวคิดแบบเติบโต, ยุควิถีใหม่บทคัดย่อ
ยุควิถีใหม่ (New Normal) เป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เนื่องจากมีบางสิ่ง มากระทบจนทำให้แบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติ และเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติ และการจัดการ ในบริบทสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน อธิบายได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนแพร่กระจายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก COVID-19 ได้สร้างปัญหาและความยุ่งยากให้กับการศึกษาไทย ส่งผลสำคัญต่อสภาพจิตใจ สังคม และอารมณ์ของผู้เรียน ทำให้ครอบครัวและผู้เรียนรู้สึกเครียด เนื่องจากต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนในห้องเรียนเป็นรูปแบบการเรียนออนไลน์ บางครอบครัวไม่มีความพร้อมในการจัดหาปัจจัยในการเรียนทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึงปัญหา และอุปสรรคในการเรียน การไม่เข้าใจในการเรียน เนื่องจากไม่มีปฎิกิริยาตอบสนอง การสื่อสารไม่ชัดเจน ทำให้ผู้เรียนรู้สึก ไม่อยากเรียนรู้ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดของผู้เรียนเป็นหลัก ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างแนวความคิดที่เติบโตให้แก่ผู้เรียน ให้มีความรู้สึกก้าวผ่านกับสถานการณ์วิกฤตในยุควิถีใหม่ ที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้เทคนิคทางจิตวิทยา คือ การสร้างแนวคิดแบบเติบโต นำสู่รูปแบบการเรียนการสอนใน ยุควิถีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ
Downloads
References
Boonphak, K. (2019). Learning management in New Normal. Journal of Industrial Education, 19(2), A1-A6. [in Thai]
Choeisuwan, V., & Kerdmanee, C. (2020). Evaluation of a Student-Centered Learning in Community Health Nursing Practicum Subject, The Royal Thai Navy College of Nursing. Royal Thai Navy Medical Journal, 47(1), 124-139. [in Thai]
Dweck, C. S. (2000). Self-Theories: Their Role in Motivation: Personality and Development. New York: Psychology Press.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random house.
Dweck, C. S. (2010). Mindsets and Equitable Education. Retrieved from http://teachelevated. org/wp-content/uploads/2022/01Mind-sets-and-equitable-education.pdf
Kowtrakul S. (2010). Educational Psychology (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Lofthouse, R., Leat, D., & Towler, C. (2010). Coaching for teaching and learning: a practical guide for schools. Retrieved from www.cfbt.com
Miller, G. (2007). Research into how children view themselves as learners, using Carol Dweck’s Self-Theories: promoting challenge and independent learning across KS2 & KS3 in North Tyneside Education Action Zone. Retrieved January 2, 2022, from https: //studylib.net/doc/5889546/assessment-for-learning-and-carol-dweck-s-self
Ricci, M. C. (2013). Mindsets in the classroom Building a culture of Success and Student Achievement in Schools. United States of America: Prufrock Press Inc.
Srirat, P., & Siribanpitak, P. (2019). Need for Enhancing teacher’ Growth Mindset. Educational Management and Innovation Journal, 2(2), 20-35. [in Thai]
Thoughtful Learning. (2012). Teacher’s Guilds. Retrieved from http://k12.thoughfullearning.com/
Tongkeo, T. (2019). New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10. [in Thai]
Thai Thani, P. (2017). Psychology of learning. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [in Thai]
World Economic Forum. (2020). 4 ways COVID-19 could change how we educate future generations. Retrieved January 2, 2022, from https://www.weforum.org/ agenda/2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/
World Economic Forum. The World Economic Forum COVID. Retrieved January 2, 2022, from https://www.weforum.org/agenda/2020/07/covid19-education-lockdown -children/
Yokchoo, K. (2018). Study and Enhancement Growth Mindset of Pre-Service Teacher. A Dissertation Submitted in partial Fulfillment of Requirements for Doctor of Philosophy. (Research and Development on Human Potentials). Faculty of Education Srinakharinwirot University. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.