การออกแบบและพัฒนาผ้าครามจากอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

กมลวรรณ พงษ์กุล
รัตตัญญู ศิลาบุตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์สักขาลายกลุ่มชาติพันธุ์ ญ้อ จังหวัดสกลนคร และเพื่อออกแบบและพัฒนาผ้าครามจากอัตลักษณ์สักขาลายกลุ่มชาติพันธุ์ ญ้อ จังหวัดสกลนคร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) จากการศึกษาพบผู้ที่สักขาลายในตำบลหนองปลิง อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร จำนวน 1 คน โดยอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ ญ้อ จังหวัดสกลนคร สามารถจำแนกอัตลักษณ์ได้ 2 ด้าน คือ อัตลักษณ์ปัจเจก และอัตลักษณ์อัตลักษณ์์ทางสังคมและวัฒนธรรม โดยอัตลักษณ์ปัจเจก คือ ลักษณะของลวดลายในการสักของแต่ละบุคคลมีความคล้ายและใกล้เคียงกัน มี 6 ลวดลาย ได้แก่ ลายมอม ลายดอกไม้ ลายขิต ลายเครือไม้ ลายฟันปลา และลายกรอบ ส่วนอัตลักษณ์์ทางสังคมและวัฒนธรรม มีรูปแบบและความเชื่อที่มีร่วมกันของผู้ถูกสัก คือ 1) รูปแบบของสักขาลาย เป็นการสักรอบต้นขาจนถึงหัวเข่า มีลักษณะคล้ายกางเกง 2) ความเชื่อในการสัก ได้แก่ การสักขาลายเป็นการสักเพื่อความสวยงาม และการสักขายลายแสดงถึงเป็นกลุ่มเดียวกัน ในการออกแบบและพัฒนาผ้าครามจากอัตลักษณ์สักขาลายกลุ่มชาติพันธุ์ ญ้อ จังหวัดสกลนคร ผู้วิจัยได้นำลวดลายสักขาลาย 6 ลวดลายมาออกแบบและพัฒนาเป็นผ้าผืน ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมนำไปประยุกต์และพัฒนามากที่สุดจำนวน 3 รูปแบบ นอกจากนี้ผลความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คนที่มีต่อผ้าครามจากอัตลักษณ์สักขาลายกลุ่มชาติพันธุ์ ญ้อ จังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธัญพัชร ศรีมารัตน์. (2558). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับกระบวนการกลายเป็นสินค้า : กรณีศึกษาโรงแรมปิงนครา บูติกโฮเทล แอนด์ สปา เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2561). คู่มือองค์ความรู้กระบวนการย้อมสีคราม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมช่องทางการตลาด. สกลนคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว. (2560). “สักขาลาย” อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). ร่างแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ. 2561 – 2564. สกลนคร: สำนักงานจังหวัดสกลนคร.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2565). แผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) . สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566, จาก https://www.cea.or.th/backendservice/3dflipbook?url=https%3A%2F%2Fwww.cea.or.th%2Fstorage%2Fapp%2Fmedia%2FITA_2566%2Fo4_CEA_Strategic_Plan_2566_2570_Apr2023.pdf.

อภิชาติ ชาไชย. (2560). ตำนานผ้าย้อมครามกลุ่มดอนกอย ของดี 5 ดาว เมืองสกล. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566, จาก http://77kaoded.com/news/apichartchachai/12706

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Y. na nagara. (2007). แนวคิดของ Deconstruction. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566, จากhttps://yong-book2.blogspot.com/2007/03/deconstruction.html.