ลมหายใจแห่งอยุธยาในจังหวัดเพชรบุรี สู่การออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน จากประวัติศาสตร์และศิลปะในจังหวัดเพชรบุรีในสมัยอยุธยาตอนปลาย

Main Article Content

มานพ เอี่ยมสะอาด
เพ็ญสิริ ชาตินิยม

บทคัดย่อ

การออกแบบสร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชันจากศิลปะและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายที่ปรากฏขึ้นในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน จากประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายในช่วงเหตุการณ์การเสียกรุงครั้งที่ 2  2) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบของวัสดุที่ใช้สร้างสรรค์ตัวละคร 3) พัฒนากลไกการเคลื่อนไหวภายในตัวละครในส่วนของร่างกายและใบหน้า โดยมีกลุ่มประชากรในการวิจัยเป็นบุคคลทั่วไป นักศึกษา บุคลากรทางด้านภาพยนตร์แอนิเมชัน ผู้เขี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ จำนวน 80 คน


        การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์และศิลปะจากวัดในจังหวัดเพชรบุรีที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายจากการลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาลักษณะจิตกรรมฝาผนัง ประติมากรรมและลักษณะของวัสดุต่างๆ รวมถึงสำรวจพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในช่วงเหตุการณ์การเสียกรุงครั้งที่ 2 บริเวณชายแดนไทย - พม่า และพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ บทความ เอกสาร บันทึกสมัยโบราณ และเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรม การออกแบบ และด้านแอนิเมชันจำนวน 9 คนโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีเค้าโครง เพื่อทำการออกแบบตัวละครและระบบกลไกรวมถึงองค์ประกอบของวัสดุ รวมไปถึงการวัดประเมินความพึงพอใจในการออกแบบตัวละคร กลไกการเคลื่อนไหว องค์ประกอบของวัสดุด้วยการวัดประเมินค่า (Rating Scale) ผลการศึกษาพบว่า 1) การออกแบบตัวละครโดยศึกษาประวัติศาสตร์แต่ละบุคคลพร้อมกับการแปลความหมายของภาพเขียนและงานปั้นที่ปรากฏในวัดทำให้เกิดลักษณะตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2) การพัฒนาองค์ประกอบของวัสดุที่เกิดความหลากหลายของคุณสมบัติของตัวละครแต่ละตนและสะท้อนความสัมพันธ์กับสถานที่ของตัวละครที่แสดงถึงจิตวิญญาณของวัสดุ 3) กลไกการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของลักษณะตัวละครกับองค์ประกอบของวัสดุที่ใช้ประกอบสร้างตัวละครแต่ละตน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบที่จะต้องวิวัฒนาการตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโดยมีรากเหง้าทาง ด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจ และได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษาค้นคว้าจากหลากหลายด้านแล้ว นำมาบูรณาการร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยมีผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.90)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภวรรณ ฐานะกาญจน์. (2545). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัfประจวบคีรีขันธ์: รายงานขั้นสุดท้าย. คลังความรู้ดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN_FOR/search_detail/result/198106.

นิจจัง พันธะพจน์. (2557). ประวัติแอนิเมชัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิพัฒน์ นวลศรี. (2548). โครงการศึกษาการออกแบบตังละครกับการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าสำหรับใช้ กับหุ่นกลไกบังคับ. ศม. มหาวิทยาลัยศิลปากร: วังท่าพระ.

เพลิง ภูผา. (2557). ข้าราชบริพารและหมู่บ้านชาวต่างประเทศในแผ่นดินอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สยามความรู้.

ภควดี บรรเทาธิรัต. (2563). การสะท้อนตัวตนของสถานที่ผ่านที่ว่างและวัสดุ. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร: วังท่าพระ.

มยุรี เจริญ. (2536). ประวัติศาสตร์ยุโรป 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยรามคำแหง: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัชตะ จึงวิวัฒน์. (19 พฤศจิกายน 2566). เมื่อพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พม่าองค์สุดท้ายแอบมีสนมลับ กับความพิโรธของราชินีศุภยาลัต. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_25651.

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล (2559). วัดใหญ่สุวรรณาราม. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์.

สันติ เล็กสุขุม. (2542). ศิลปะอยุธยา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). แวะเที่ยวเมืองเพชรบุรีในวิถีโลคอล. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thaihealth.or.th/แวะเที่ยว-เมืองเพชรบุรี/.

อดิศร ศรีเสาวนันท์. (2559). แนวความคิดเรื่องสถานที่ และปรากฏการณ์วิทยากับการศึกษางานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. วารสารวิชาการ สิงแวดล้อมสร้างวินิจฉัย. 15(1), 3.

Loomis, Andrew. (1956). Drawing the Head and Hands. New york: Viking Press.

Lord, Peter. (2004). Cracking Animation. London: Thames & Hudson.

Norberg – Schulz, Christian. (1980). Genius Loci: Towards a phenomenology of architecture. New York: Rizzoli.

Phibunsombat, Boonmee. (2000). Wat khoi Phetchaburi Province. Phetchaburi: Petchphum Printing.

Relph, Edward. (2008) Place and Placelessness. 19 December 2023. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/251484582_Place_and_Placelessness_Edward Relph.

Saising, Sakchai. (2014). Burmese Art. Bangkok: Matichon Publishing.

Ternan, M. (2013). Stop Motion Animation. Braddell Tech: Basheer Graphic Books.

Verzosa, Chad. (2023). The science of shapes: Learn the psychology behind basic forms and figures in photography. 9 December 2023. Retrieved from https://www.canva.com/learn/science-shapes-learn-psychology-behind-basic-forms-figures-photography/.