Factors Affecting Work Happiness of Before Retirement Employee in Industry, Nonthaburi Province

Main Article Content

ภาวิน ชินะโชติ Pavin Chinachoti
ทองฟู ศิริวงศ์ Tongfu Siriwongse
ภาณุ ชินะโชติ

Abstract

ในประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับความสุขเป็นนโยบายระดับชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเกิดความสุข จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 รัฐบาลได้มุ่งเน้นความเชื่อมโยงของทุน 6 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม ที่เป็นความท้าทายในการปรับตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทุนทั้ง 6 นั้นจะมีความใกล้เคียงกับคุณภาพชีวิต และความสุขของมนุษย์ ความสุขนั้นเป็นสภาวะจิตใจของคนที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม และยังเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันทั้งองค์การภาครัฐและเอกชนจึงหันมามองสิ่งที่อยู่ภายในตัวบุคคลแต่ละคนมากขึ้นนั่นคือ ความสุข ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์การ (Happy Workplace) ภายใต้สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์การ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สร้างแนวทางการสร้างสุขในที่ทำงานขึ้น เป็นความสุขพื้นฐานในการสร้าง “ความสุขมวลรวมของการทำงาน”


ความสุขในการทำงานตามแนวคิดของ Manion (2003) กล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่สร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งจะนำ ไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้พนักงานมีความผูกพันและปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความพอใจ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ การติดต่อสัมพันธ์ ความรักในงาน ความสำเร็จในงาน และการเป็นที่ยอมรับ เมื่อพนักงานมีความสุขในการทำงานช่วยส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกอยากทำงาน และเป็นปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งความสุขจากการทำงานเป็นส่วนหนึ่งจากการมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนสำคัญในการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life--QWL) ของพนักงานในองค์การธุรกิจเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา เพื่อสนับสนุนให้เกิดความสุขในการทำงาน (Joy at Work) คุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นแนวทางการสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพการทำงาน ลดปัญหาการย้ายหรือลาออก ลดการสูญเสียเวลา และงบประมาณการฝึกอบรมพนักงานเข้าทำงานใหม่ซึ่ง Walton (1973) ได้อธิบายแนวคิดคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of work life: QWL) ไว้ว่าเป็นสิ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และการพัฒนา สามารถตอบสนองความพึงพอใจพนักงาน โดยระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานที่แตกต่างกันนั้นจะเป็นผลมาจากปัจจัยในด้านต่าง ๆ ของคุณภาพชีวิตในการทำงาน และงานวิจัยจากสถาบัน NIOSH หรือ National Institute for Occupational Safety and Health (2002) ได้นำเสนอไว้ ซึ่งการตอบสนองความต้องการของพนักงานให้ได้อย่างเพียงพอ เป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานให้กับพนักงาน ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้ทั้งกับตัวพนักงานในการปฏิบัติงาน บริษัทหรือองค์การที่ได้ประสิทธิผลสูง รวมไปถึงคุณค่าที่จะเกิดกับลูกค้า และสังคมที่อยู่ร่วมกันอีกด้วย การตอบสนองความต้องการ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่มีผู้ให้ความสนใจอย่างแพร่หลายประเด็นหนึ่ง คือ คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life) ที่เป็นทั้งความรู้สึกทางกายและจิตใจของพนักงานที่ทำให้เกิดการทำงานอย่างเต็มที่ มีประสิทธิภาพ ด้วยความเต็มใจ ซึ่งมีความต้องการความสุขในการทำงานในช่วงสุดท้ายของการทำงาน ดังนั้นการสร้างความสุขในการทำงานของคนในองค์การมีความสำคัญต่อการทำงานและองค์การ ถ้าพนักงานมีความสุขในการทำงานจะทำให้ประสิทธิผลต่อคุณภาพการทำงานดีขึ้นด้วย ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากระบบสาธารณสุขได้รับการพัฒนามากขึ้น ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่มีความต้องการเกี่ยวกับพนักงานที่มีจำนวนมากทำให้ต้องตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ มีการเตรียมการรองรับในการดูแลกลุ่มพนักงานผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นให้มีความสุขในการทำงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และมาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ดำเนินการด้านผู้สูงอายุให้ชัดเจน เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุยังถูกกดดันเรื่องภาระการทำงานที่เทียบเท่ากันกับพนักงานทุกกลุ่มอายุ ซี่งสภาพร่างกายของพนักงานผู้สูงอายุมีความพร้อมน้อยกว่า การให้ความสำคัญเกี่ยวกับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุนับเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ตระหนักกันทั่วไปว่า ขนาดของประชากรสูงอายุของไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันสังคมทุกประเทศทั่วโลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยกลุ่มนี้จะอยู่ในวัยก่อนการเกษียณอายุในระบบการทำงาน มีการวิจัยจากต่างประเทศก็ประสบปัญหาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาก่อนประเทศไทย จึงได้มีการสร้างระบบส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีนโยบายต่างๆทั้งการสร้างมาตรการห้ามเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การขยายอายุเกษียณแรงงานสูงอายุ การให้นายจ้างช่วยเหลือผู้สูงอายุในการได้รับการจ้างกลับเข้าทำงาน การกำหนดอัตราส่วนลูกจ้างผู้สูงอายุ การจัดหางานและการฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ กำลังแรงงานของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจ ที่บีบรัดทำให้ผู้สูงอายุยังคงอยู่ในตลาดแรงงานหรือยังคงทำงานอยู่


ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณ ในอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี ทำให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานในการส่งเสริมให้พนักงานก่อนวัยเกษียณมีความสุขในการทำงาน

Article Details

How to Cite
Pavin Chinachoti ภ. ช., Tongfu Siriwongse ท. ศ., & ชินะโชติ ภ. (2018). Factors Affecting Work Happiness of Before Retirement Employee in Industry, Nonthaburi Province. Dusit Thani College Journal, 12(2), 319–334. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/126013
Section
Academic Article

References

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
Gordon, J.R. (1991). A Diagnostic Approach to Organizational Behavior (3rd ed.). Massachusetts: Allyn and Baco.
Manion, Jo. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Work Place. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652 – 655.
Maithily Pendse and Sheetal Ruikar. (2013). The Relation between Happiness, Resilience and Quality of Work Life and Effectiveness of a Web-Based Intervention at Workplace.
Journal of Psychosocial Research.Vol. 8, No. 2, 2013, 189-197.
National Institute of Occupational Safety and Health. (2002). Stress...at work.
Retrieved March 11, 2009, from https://www.cdc.gov/NIOSH/stresswk.html.
Ouiprasert, Nantarat. (2009). Happiness at Work of Employees at Frist Drug Company Limited Chiangmai Province. Graduate School. .Chiangmai: Chiangmai University.
Phowitayakarn, Kamonwan (2014). Factors Influencing Happiness at Work of Employees rubber wood industry. Muang District Yala Province. Thesis. The Board of Nursing. Songkla University.
Research and Development Institute Foundation Thai Elderly. (2012). Report the situation of Thai elderly. 2010. Bangkok: author.
The WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine, 41(10), 1403-1409.
Walton, Richard E. (1973). Quality of Working Life: What is it? Sloan Management Review, 4 (7), 20-23
Wasanthanarat, Charnvit. (2008). "The Organization of happiness with happiness 8 Reasons". Morchowbarn Magazine. Years 30 issue 349. May. Page 18-24.
Wongsureerat, Chaika. (2011). The Relationships between Quality of Working Life, Happiness at Work, and Flow State as Moderator: Case Study in an Engineering, Procurement, Installation and Commissioning (EPIC) company in Oil & Gas Business Industrial, Bangkok Office. Individual Research. Faculty of Liberal Arts. Bangkok: Thammasart University.