Publication Ethics
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานที่จัดทำขึ้นใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องและครบถ้วน เมื่อมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง
3. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบทความ ต้องมีส่วนร่วมในงานทุกคน
4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด อีกทั้งรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง และต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยอย่างครบถ้วน
5. ข้อความที่ปรากฏในบทความและองค์ประกอบทั้งหมดของบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่ผู้เดียว
6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
7. การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
1. จัดทำวารสารให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางที่กำหนด
2. กลั่นกรอง คัดสรรบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารอย่างเข้มข้น มุ่งหวังให้เกิดคุณภาพและเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน
3. คัดเลือกบทความมาตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ องค์ความรู้ใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหา
4. ตรวจสอบการคัดลอกอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ
5. บรรณาธิการต้องหยุดการประเมินบทความ หากพบว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์คัดลอกผลงานของผู้อื่น และปฏิเสธการรับบทความนั้นๆ
6. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความให้แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
7. การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ไม่มีอคติ ให้ข้อคิดเห็นตรงไปตรงมา สร้างสรรค์ นำไปสู่การปรับปรุงบทความที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ
2. ประเมินบทความที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาคุณภาพของบทความ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมารองรับในการให้ข้อเสนอแนะหรือตัดสินบทความ
3. ให้ข้อเสนอแนะ และระบุตัวอย่างผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่ประเมินแต่ผู้นิพนธ์บทความไม่ได้อ้างถึง
4. หากผู้ประเมินตระหนักว่า อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ ควรแจ้งบรรณาธิการวารสาร และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
5. หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความที่ประเมินมีความซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
6. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
7. การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด