การศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสาร สายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส

Main Article Content

พัชรพล เชาวพงษ์ Phatcharapon Chaowapong

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรของผู้โดยสาร เจ็ท แอร์เวย์ส 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารในการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเจ็ท แอร์เวย์ส และ 3) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเจ็ท แอร์เวย์ส โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารสัญชาติไทยที่ใช้บริการโดยสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส เส้นทางกรุงเทพฯ-อินเดีย ที่เดินทางอิสระไม่ได้เดินทางกับบริษัทนำเที่ยว และมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ชุด ในสำนักงานเจ็ท แอร์เวย์ส ถนนสาทร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ เลือกผู้ที่เป็นผู้โดยสารโดยตรงที่ความประสงค์ซื้อบัตรโดยสารกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานขาย เนื่องจากผู้ที่เป็นผู้โดยสารโดยตรงมีการรับรู้ความต้องการ การค้นหาข้อมูล การประเมินทางเลือก และการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ (c2) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้โดยสารที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย ช่องทางการเปิดรับข่าวสาร ประเภทของเนื้อหาที่ได้รับจากสื่อ และสื่อที่ต้องการได้รับข้อมูลในอนาคต ในการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามอาชีพที่แตกต่างกัน มีช่องทางการเปิดรับข่าวสารของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส ไม่แตกต่างกัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีสื่อที่ต้องการได้รับข้อมูลในอนาคตของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส ไม่แตกต่างกัน 2) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารประกอบด้วยช่องทางการเปิดรับข่าวสาร ประเภทของเนื้อหาที่ได้รับ และสื่อที่ต้องการได้รับข้อมูลในอนาคตที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3) ปัจจัยการสื่อสารการตลาด ด้านการโฆษณา ด้านการใช้เครือข่ายสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส อย่างมีนัยสำคัญ  แต่ปัจจัยการสื่อสารการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการขายโดยบุคคล และด้านการส่งเสริมการขาย ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส

Article Details

How to Cite
Phatcharapon Chaowapong พ. . เ. (2018). การศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อบัตรโดยสาร สายการบินเจ็ท แอร์เวย์ส. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(2), 151–164. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/136799
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกาญจน์ เปสาโก, ชลลดา พงศ์พุทธิไพบูลย์ และณัฐที ปิ่นทอง. (2557). สำรวจพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ของประชาชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.slideshare.net/iamthehotshit/ss-51711166 วันที่เข้าถึง : 4 มกราคม 2558.
จริญญา เจริญสุกใส และสุวัฒน์ จุธากรณ์. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. ในเอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แบรนด์เอจ บุ๊ค.
ดาราวรรณ ศรีสุกใส. (2542). การเปิดรับข่าวสารการประชาสัมพันธ์โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และการใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี และณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา การตลาดเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สุราษฎร์ธานี: จุฑาภรณ์ซีรอกซ์.
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน).(2556). แผนธุรกิจปี 2556-2557 บริษัท การบินไทย จำกัด.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.publicinfo.thaiairways.com/9%283%29/BusinessPlan2556.pdf
วันที่เข้าถึง : 25 ธันวาคม 2557.
เบญจวรรณ สุจริต. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และวิถีชีวิตภูมิปัญญาไทย. อุตรดิตถ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปรมะ สตะเวทิน. (2538). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2542). การสื่อสารการตลาดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีบีทีเอส คอมมิวนิเคชั่น.
ปิยะนันท์ ไกลกล่อม. (2552). การรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์โรงเรียนอินเทอร์เน็ตและการออกแบบ (เน็ตดีไซน์). วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทวัส อุดมกิตติ. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อบริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารเพื่อการจัดการในองค์การธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
DeFleur, M. L. (1970). Theories of mass communication. New York: Mckay.
Klapper, J. T. (1960). The effect of communication. New York: The Free Press.
Kotler, P. (2000). Marketing management: The Millennium edition. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Varey, R. J. (2002). Marketing communication: Principles and practice. London: Routledge.
Yamane, T. (1974). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.