ความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนเกาะเกิด และชุมชนไทรน้อย จังหวัดอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์ก่อนและหลังดำเนินโครงการโฮมสเตย์คาร์บอนต่ำ และความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์ของชุมชนเกาะเกิดและชุมชนไทรน้อย จังหวัดอยุธยา โดยใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการตรวจวัดและบันทึกข้อมูลโดยตรงในภาคสนาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล โดยก่อนดำเนินโครงการก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์ส่วนใหญ่ของชุมชนเกาะเกิดและชุมชนไทรน้อยมาจากการใช้ไฟฟ้า (คิดเป็นร้อยละ 98.08) และ ขยะและของเสีย (คิดเป็นร้อยละ 75.10) ตามลำดับ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมจากโฮมสเตย์ก่อนดำเนินโครงการของชุมชนเกาะเกิดและชุมชนไทรน้อย มีค่าเท่ากับ 7.705 และ 50.603 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าตามลำดับ หลังดำเนินโครงการแล้วพบว่าการใช้ไฟฟ้าจากโฮมสเตย์ชุมชนเกาะเกิดเป็นเพียงกิจกรรมเดียวเท่านั้นที่สร้างก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์ชุมชนไทรน้อยมาจากการใช้ไฟฟ้าและขยะและของเสีย ปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมจากโฮมสเตย์หลังดำเนินโครงการของชุมชนเกาะเกิดและชุมชนไทรน้อย มีค่าเท่ากับ 7.557 และ 13.118 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามลำดับ
ความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกรวมจากโฮมสเตย์ของชุมชนเกาะเกิดและชุมชนไทรน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.921 และ 74.077 ตามลำดับ โดยชุมชนเกาะเกิดสามารถลดก๊าซเรือนกระจกจากการคมนาคมและขยะและของเสียได้มากที่สุด และชุมชนไทรน้อยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกจากโฮมสเตย์จากขยะและของเสียได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100
Article Details
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน/บทความ
- บทความ ข้อความ ภาพประกอบและตารางประกอบที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารทราบจะเป็นพระคุณยิ่ง
References
Case of Tourist Resorts in Fiji. Global Environmental Change, 15, (4), pp. 381-393.
2. Commonwealth of Australia. (2002). Energy efficiency opportunities in the hotel industry Sector. Legislative Services, Canberra.
3. Department of Tourism. (n.d.). Homestay Standard Thailand. Retrieved July 7, 2012, from http://www.homestaythai.net/homestay.aspx
4. German International Cooperation (GIZ) and Designated Areas for Sustainable Tourism
Administration (Public Organization) – DASTA. (2012). A Managed Model of Low
Carbon Tourism in Thailand. Bangkok: German International Cooperation.
5. Joint Graduate School of Energy and Environment (JGSEE) King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT). (2010). Guidelines for Greenhouse Gas Emission Calculation. King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT). Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning.
6. Ministry of Tourism and Sports. (2011). The National Tourism Development Plan 2012-2016. Retrieved May 7, 2015, from www.tceb.or.th.
7. Office of the National Economics and Social Development Council. (2011). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012 - 2016). Bangkok: Sahamitr Printing and Publishing.
8. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). (2013). (Draft) Strategic Plan for Climate Change of Nan Municipality. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning.
9. Shiming, D. and Burnett, J. (2002). Energy Use and Management in Hotels in Hong
Kong. Hospitality Management, 21, pp. 371-380.
10. Tangon, S. (2013). Study of Variables Affecting Electricity Consumption and
Greenhouse Gas Emission of Hotels in Thailand. Bangkok: The Joint Graduate
School of Energy and Environment (JGSEE). King Mongkut’s University of Technology
Thonburi (KMUTT).
11. Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) – TGO. (2013). Guidelines for Corporate Carbon Footprint (CCF) Assessment. Corporate Carbon Footprint Promotion Project. Second Edition.
12. Xuchao, W., Priyadarsini, R. and Eang, L. S. (2009). A Study on Energy Performance of
Hotel Buildings in Singapore. Energy and Building, 41, pp. 1319-1324.